hr thailand club

ก่อนหน้านี้ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ การพัฒนา Soft skills ไว้แล้ว ดังนั้น ในบทความนี้จะโฟกัสเนื้อหาเกี่ยวกับ Hard skills ในส่วนที่จะถูก Disruption ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อย่าง AI (Artificial Intelligence)

Hard skills คืออะไร

Hard skills คือ ทักษะที่เกี่ยวข้องกับวิชาวิชาชีพ หรือทักษะในงาน (Technical skills) ของแต่ละอาชีพนั้นๆ โดยตรง ซึ่งปัจจุบันนี้ AI ได้ถูกพัฒนามาไกลมาก และในอนาคตอาจจะแย่งงานมนุษย์ไปได้สูงถึง 85% (จากการศึกษาของ McKinsey & Company เมื่อปี 2016)

ai

ทักษะอะไรที่ AI ทำได้ดี

ปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยี AI Engineer หรือ Machine Learning มาใช้ในการทำงาน​มากขี้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้รวดเร็วขึ้น ต้นทุนถูกลง รองรับกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลกยุคที่เป็น Big data ที่จำเป็นต้องใช้พวก Machine learning เข้ามาช่วยงานให้มาก โดยจะมีตำแหน่งงานใหม่ๆที่คอยไปควบคุม AI เหล่านั้นอีกที เช่น Data Science หรือ Data Scientist เป็นต้น

ทักษะที่เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ สามารถทำได้ดีนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลการทำซ้ำๆ การจดจำ การวิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูล ได้อย่างรวดเร็ว และนี่คือตัวอย่างบางส่วน ที่ปัญญาประดิษฐ์นั้นทำได้ดีกว่าสิ่งที่มนุษย์

งานศิลปะ

ล่าสุดที่หลายท่านได้รู้จักว่าเทคโนโลยีนั้นสามารถทำงานศิลปะได้สวยงามกว่ามนุษย์ นั่นก็คือ Midjourney ซึ่งสามารถเจนเนอเรทคำสั่งออกมาเป็นศิลปะ หรืองานกราฟฟิค ได้สวยงามมากๆ โดยค่าสมัครสมาชิกก็ถูกมากๆ โดยเริ่มต้นที่ 10$ ต่อเดือน เท่านั้น

Midjourney

งานจดบันทึก ถอดตัวหนังสือ

หากลองนึกถึงการประชุมในองค์กร ที่มีประธานนั่งหัวโต๊ะ และมีเลขาผู้คอยจดบันทึกรายงานการประชุม ซึ่งผู้จดรายงานการประชุมอาจจะใช้เครื่องบันทึกเสียง และคอยถอดจากเสียงออกมาเป็นตัวหนังสือ เพื่อทำรายงานสรุปอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน ในการจัดส่งสรุปรายงานการประชุมให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง

แต่ล่าสุด Noota สร้าง AI (Artificial Intelligence) ถอดเสียงให้เป็นตัวหนังสือ แบบ Realtime ได้มากกว่า 70 ภาษา ซึ่งสามารถจัดส่งรายงานการประชุมได้ในทันที

งานออกแบบหรืองานกราฟฟิค

ในงานออกแบบ หรืองานกราฟฟิค สามารถทำงานแทนนักออกแบบได้อย่างรวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมหาศาล เช่น สามารถลบฉากหลังออกจากตัวแบบได้ในพริบตา สามารถออกแบบเซ็ตสีต่างๆให้เข้ากับ Theme ได้อย่างสวยงาม อย่างนี้เป็นต้น

งานเขียนบทความ

AI สามารถเขียนบทความ เรียบเรียง สรุปบทความที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต ให้สั้นกระชับ ได้ในเวลาไม่กี่วินาที ซึ่งมีแอปประเภทนี้อยู่หลายตัว เช่น Jarvis, Frase, Nichess เป็นต้น

วมถึง Hard Skills อื่นๆอีกมากมาย

ยังมีทักษะอื่นๆอีกมากมายที่เทคโนโลยี หรือปัญญาประดิษฐ์ สามารถทำงานได้ดีกว่ามนุษย์ เช่น การวิเคราะห์โรค และจ่ายยารักษาให้กับผู้ป่วย การลงบันทึกข้อมูลทางบัญชี ฯลฯ


ทักษะอะไรที่ AI จะเข้ามาทดแทนได้ยาก

สิ่งที่ AI (Artificial Intelligence) ไม่สามารถทดแทนทักษะที่มีของมนุษย์ได้นั้น จะเป็น soft skills ซึ่งได้แก่

  • Sensing
  • Emotion
  • Mindfulness
  • Creativity

1. Sensing

การใช้ประสาทสัมผัส ความรู้สึก ที่มีต่อ รูป รส กลิ่น เสียง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับตรรกะ หรือเหตุผลต่างๆ ซึ่งตรงนี้มนุษย์ หรือสัตว์ ทำได้ดีอยู่แล้ว และยังมีอีกหลายส่วนที่ระบบ AI ไม่สามารถทำทดแทนได้

2. Emotion

การรับรู้และเข้าใจถึงสภาวะ อารมณ์​ที่ลึกซื้ง หลากหลายของคน อาทิ ความรัก​ ความโลภ ความโกรธ ความหลงต่างๆ ซึ่งปัญญาประดิษฐ์ หรือเทคโนโลยี ไม่สามารถเข้าอกเข้าใจในอารมณ์ ความรู้สึกของมนุษย์ได้

3. Mindfulness

การมีสติระลึกรู้ การมีสติหักห้ามใจไม่ให้ไหลไปตามกิเลส การรู้ผิดชอบชั่วดี สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถใช้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาทดแทนตรงนี้ได้

4. Creativity

การคิดสร้างสรรค์ หรือการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ นั้นจำเป็นต้องใช้สมองของมนุษย์ในการคิดสร้างสรรค์ ให้แตกต่างออกไปจากกรอบ หรือรูปแบบเดิมๆ สิ่งนี้ที่มนุษย์เราทำได้ดี และเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนได้ยาก


องค์กรต้องจะเตรียมรับมืออย่างไร

สิ่งที่องค์กรต่างๆจะต้องเตรียมรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ที่กำลังมาถึง เพื่อให้องค์กรสามารถแข่งขันได้ในยุคที่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว บุคลากรของเราต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง และปรับเปลี่ยนกรอบความคิดใหม่เกี่ยวกับการทำงาน โดยองค์กรจะต้องปลูกฝังคุณลักษณะเฉพาะเหล่านี้ให้กับบุคลากร

1. การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Continuous Learning)

หลายคนเชื่อว่า จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแล้ว ก็สิ้นสุดการเรียน แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เมื่อทำงาน ต้องการความก้าวหน้า ยิ่งต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

สังคมในปัจจุบันขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ดังนั้น ถ้าหยุดเรียนรู้เมื่อไหร่ จะตกยุคได้อย่างรวดเร็วมากกว่าสมัยก่อนมาก

ดังนั้น จึงต้องหมั่นเพิ่มทักษะใหม่ๆ ให้กับตนเองอยู่ตลอดเวลา การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ ยิ่งเรียนรู้ให้ไว ยิ่งสร้างความได้เปรียบ

2. การคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking)

อีกหนึ่งทักษะที่จำเป็นในยุคนี้คือ การคิดเชิงวิเคราะห์ เนื่องจากยุคนี้ ข้อมูล ข่าวสาร มีมากมายหลายช่องทาง การมีความสามารถในการแยกแยะว่าสิ่งใดมีความเกี่ยวข้อง ไม่เกี่ยวข้อง แยกแยะให้ออกระหว่างเท็จกับจริง ระหว่างความจริงกับคำโกหก นี่คือทักษะที่ AI มิอาจทำได้ทัดเทียมกับมนุษย์

3. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

การจดจำสิ่งต่าง ๆ การทำงานเชิงตรรกะ หรือการค้นหาข้อมูล สิ่งเหล่านี้ต้องยกให้ว่าคอมพิวเตอร์เก่งกว่ามนุษย์เราเป็นอย่างมาก

แต่เมื่อเป็นการคิดนอกกรอบ การสร้างแนวคิดใหม่ๆ หรือการสร้างประสบการณ์ระหว่างบุคคล ตรงนี้ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ไม่สามารถทำได้

ด้วยเหตุนี้ เราถึงมีความได้เปรียบในการคิดเชิงสร้างสรรค์ เพราะเราต้องใช้ประสบการณ์ส่วนตัวและอารมณ์ของคนเรา ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ซึ่งเครื่องจักร หรือคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำได้

4. ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)

แม้ว่าในอนาคต AI จะถูกพัฒนาให้สามารถวินิจฉัยโรคได้เร็ว และแม่นยำกว่าแพทย์ ในทุกวันนี้ แต่ปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้ก็ไม่สามารถพูดคุย ให้คำปรึกษา แสดงความเห็นอกเห็นใจได้

เพราะในบางครั้ง ผู้ป่วยต้องการกำลังใจ ต้องการคนรับฟังอย่างตั้งใจ ดังนั้น การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ จึงเป็นความได้เปรียบไปตลอดกาล เพียงแค่มนุษย์เรารักษาคุณค่าความเป็นมนุษย์ ที่รู้จัก เห็นใจ เมตตา กรุณา ต่อกัน

5. มีสติ (Mindfulness)

สติเป็นข้อได้เปรียบที่เรามีเหนือกว่าเครื่องจักร การตระหนักรู้ตนเองในปัจจุบันขณะ ไม่ปล่อยใจฟุ้งซ่าน จะทำให้เป็นบุคคลที่มีเสน่ห์ น่าคบหา

สติเป็นรากฐานของการพัฒนาทักษะอื่นๆ อีกหลายอย่าง เพราะการมีสติสร้างความสุขให้กับต้นเอง และผู้อื่นได้เป็นอย่างดี


สรุป

เทคโนโลยีกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจในโลกปัจจุบัน เมื่อ AI ไล่ล่า วิธีการรับมือที่ดีที่สุดคือการพัฒนา Soft skills ของตนเองอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นสิ่งที่เทคโนโลยีไม่สามารถเข้ามาทดแทนได้นั่นเอง

หากสนใจพัฒนาตนเอง กดคลิกเพื่อดูหลักสูตร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทางข้อความ Messenger

Interpersonal skills คือหนึ่งใน Soft skills ที่มีความจำเป็นต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะทักษะนี้จะเปลี่ยนจากมือสมัครเล่น ให้กลายเป็นมืออาชีพได้ดีเลยทีเดียว

Interpersonal skills คืออะไร

Interpersonal skills แปลว่า ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ที่เราใช้เพื่อติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันระหว่างกัน เช่น บุคคลกับบุคคล หรือกลุ่มคนต่างๆ อาทิ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทั้งการฟังและการพูด การบริหารจัดการเวลา การคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical thinking) และการควบคุมอารมณ์ (Emotional ) เป็นต้น

โดยคำจำกัดความของมนุษยสัมพันธ์ จะประกอบไปด้วยทักษะต่างๆ ดังนี้

  1. ทักษะด้านการสื่อสาร (Communication skills) ซึ่งประกอบไปด้วย
  2. การสื่อสารด้วยการพูด
  3. การสื่อสารที่ไม่ใช่การพูด เช่น ภาษากาย น้ำเสียง ท่าทาง
  4. ทักษะการฟัง (Listening skills)
  5. ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional intelligence)
  6. ทักษะการทำงานเป็นทีม (Team working)
  7. ทักษะการเจรจาต่อรอง การโน้มน้าวจูงใจผู้อื่น (Negotiation)
  8. ทักษะการไกล่เกลี่ย การแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Conflict resolution)
  9. ทักษะการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ (Problem solving and decision making)

Interpersonal skills สำคัญอย่างไร

Interpersonal skills สำคัญอย่างไร

ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ คือ สิ่งที่ทำให้คนเราประสบความสำเร็จในอาชีพ หรือหน้าที่การงาน เพราะการมีมิตรภาพที่ดี เป็นการเชื่อมสัมพันธภาพได้ดี และทำลายกำแพงขวางกั้นต่างๆลงได้ จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นว่าแต่ละประเทศ จำเป็นต้องมีทูตเพื่อเชื่อมสัมพันธ์กับอารยประเทศต่างๆ พรรคการเมืองต่างๆต้องมีเลขาธิการพรรค ที่มีคุณสมบัติเชื่อมสัมพันธ์กับพรรคการเมืองต่างๆ ได้ อย่างนี้ เป็นต้น

แม้ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์อาจจะถูกมองว่า เป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวของแต่ละบุคคลมาแต่กำเนิด แต่ทักษะมนุษยสัมพันธ์นี้สามารถฝึกฝน และพัฒนาได้

มีหลายครั้ง และแทบจะ 100% ก็ว่าได้ โดยเฉพาะกรณีการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัคร หรือการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งหน้าที่งาน กรณีที่มีผู้สมัคร หรือ candidate มีความสามารถหรือคะแนนด้าน hard skills ที่ใกล้กัน ผู้คัดเลือกมักตัดสินใจโดยใช้เกณฑ์ด้านมนุษยสัมพันธ์มาเป็นตัวตัดสินใจว่าจะพิจารณาคัดเลือกใครดี


เราจะพัฒนา Interpersonal skills ได้อย่างไร

ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดามากจนหลายคนอาจมองข้ามไป เราอาจจะไม่เคยคิดว่าจำเป็นต้องเรียนวิธีที่จะสื่อสารกับผู้อื่นอย่างไร เพราะทักษะเหล่านี้ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด

แต่สิ่งที่ส่งผลให้หลายคนต้องมีความทุกข์ใจกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือผู้ที่ต้องติดต่อกัน ล้วนเกิดจากการขาดทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ จึงส่งผลให้มีปัญหาในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน

ดังนั้น การพัฒนาทักษะนี้ นอกจากจะทำให้เราประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน หรืออาชีพแล้ว ยังช่วยให้เราปลดเปลื้องความทุกข์ใจได้เป็นอย่างดี

เพื่อให้การพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์เป็นไปในแบบที่ดีเยี่ยม จึงจำเป็นต้องพัฒนาตามขั้นตอนพื้นฐาน ดังนี้

1.ระบุทักษะหรือสิ่งที่ต้องพัฒนา

ขั้นตอนแรกของการพัฒนา คือ การรู้ว่าตนเองมีจุดอ่อน หรือเรื่องอะไรที่จะต้องพัฒนา โดยอาจจะขอความคิดเห็นจากผู้อื่นด้วยยิ่งดี เพราะการพัฒนา 'จุดบอด' เกี่ยวกับเองนั้นจะทำได้ง่ายกว่า

การประเมินตนเอง เกี่ยวกับทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ คือการ ค้นหาจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง ที่ครอบคลุมทักษะต่างๆ ได้แก่ การฟัง การสื่อสารด้วยวาจา ความฉลาดทางอารมณ์ และการทำงานเป็นทีม

2. มุ่งเน้นไปที่ทักษะการสื่อสารขั้นพื้นฐานก่อน

เมื่อเราทราบสิ่งที่ต้องปรับปรุงจากข้อ 1 แล้ว ให้เลือกทักษะการสื่อสารแบบพื้นฐานเพื่อนำมาพัฒนาก่อน เพราะทักษะการสื่อสารขั้นพื้นฐานนั้นจะทำให้เราปิด Gap ได้ง่าย และจะมีกำลังใจในการพัฒนาทักษะขั้นสูงต่อไป

3. จากนั้นพัฒนาทักษะการสื่อสารขั้นสูง

เมื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารขั้นพื้นฐานได้แล้ว จึงลงมือพัฒนาทักษะการสื่อสารขั้นสูง โดยค่อยๆพัฒนาไปทีละทักษะๆ

4. สำรวจโลกด้านในใจของตัวเอง

สิ่งที่ต้องพัฒนาควบคู่กันไปกับทักษะการสื่อสาร คือ เรื่องของจิตใจ ความคิด ทัศนคติเชิงบวก ซึ่งจะทำให้การสื่อสาร และมนุษยสัมพันธ์ที่แสดงออกมาภายนอก ดูดี มีความจริงใจ

5. หมั่นฝึกฝนการสื่อสารในสถานการณ์จริง

การพัฒนาฝึกฝนทักษะที่ดีนั้น คือการลงมือฝึกฝนจากสถานการณ์จริง เพราะจะช่วยให้การพัฒนานั้นเป็นไปได้เร็วขึ้น

6. ทบทวนและปรับปรุงตนเองให้ดียิ่งๆขึ้นไป

หลักจากที่ฝึกฝน พัฒนาทักษะทั้ง 5 ขั้นตอนแล้ว ต่อมาก็ให้ทบทวน และปรับปรุงจุดอ่อน และจุดแข็งของตนเองให้ดียิ่งๆขึ้นไป


10 ทักษะที่ทำให้มืออาชีพนั้นแตกต่างจากมือสมัครเล่น

Interpersonal skills คือสิ่งที่ทำให้มืออาชีพนั้นแตกต่างจากมือสมัครเล่น มีทักษะอะไรบ้างที่ควรพัฒนา

1. ความเห็นอกเห็นใจ (Empathy)

2. ความสม่ำเสมอ (Consistency)

3. มีสติ (Mindfulness)

4. ทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี (Good Listening)

5. การมอบหมายและการจัดลำดับความสำคัญ (Delegating and Prioritizing)

6. การบริหารเวลา (Time management)

7. อ่อนน้อมถ่มตน (Humility)

8. การคิดบวก (Positive thinking)

9. ความกล้าแสดงออก (Assertiveness)

10. ความซื่อสัตย์ (Honesty)


สรุป

"Interpersonal skills คือ soft skills ที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในอาชีพ เพราะเป็นทักษะที่ทำให้มือสมัครเล่นกลายเป็นมืออาชีพ"

หากสนใจพัฒนาตนเอง กดคลิกเพื่อดูหลักสูตร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทางข้อความ Messenger

Mindset คืออะไร?

Mindset (มายเซต) คือ กรอบความคิด หรือชุดความคิด ที่เกิดจากความเชื่อ แล้วส่งผลแสดงออกมาในรูปแบบของพฤติกรรมของแต่ละบุคคล ทำให้มีทัศนคติ บุคลิก พฤติกรรม วิถีชีวิต และความสำเร็จที่แตกต่างกันออกไป

มายเซต

Mindset ทางพุทธ คืออะไร

Mindset ในทางพุทธศาสนา ตรงกับคำว่า ทิฐิ (ทิฏฐิ ในภาษาบาลี) แปลว่า "การเห็น" ซึ่งการเห็นนั้นไม่ใช่การมองเห็นด้วยสายตา แต่เป็นการเห็นด้วยกรอบความคิด หรือชุดความคิด ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ทิฐิ คือ

  1. สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นถูก (Growth Mindset)
  2. มิจฉาทิฐิ คือ ความเห็นผิด (Fixed Mindset)
  3. ทิฐิวิสุทธิ คือ การเห็นโลกเป็นไปตามความเป็นจริง

ซึ่งในบทความนี้จะขยายเรื่อง Mindset "กรอบความคิด" ในแง่มุมทางพุทธศาสนา และแนวทางการพัฒนากรอบความคิดในรูปแบบวิปัสสนา เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจต่อไป

วัดป่าธรรมอุทยาน

Mindset สำคัญอย่างไร

Mindset มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อคนเรา ซึ่งกรอบความคิดนั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนเรา เป็นตัวกำหนดทิศทางในการกระทำของเราได้ เพราะจะส่งผลต่อทัศนคติ (Attitude) และการกระทำ (Action) เป็นลำดับๆ ดังนี้

  • เมื่อความเชื่อเปลี่ยน ความคิดก็จะเปลี่ยน
  • เมื่อความคิดเปลี่ยน ทัศนคติก็จะเปลี่ยน
  • เมื่อทัศนคติเปลี่ยน พฤติกรรมก็จะเปลี่ยน
  • เมื่อพฤติกรรมเปลี่ยน นิสัยก็จะเปลี่ยน
  • เมื่อนิสัยเปลี่ยน บุคลิกภาพก็จะเปลี่ยน
  • เมื่อบุคลิกภาพเปลี่ยน โชคชะตาก็จะเปลี่ยน
  • เมื่อเปลี่ยนโชคชะตาได้ วิถีชีวิตก็จะเปลี่ยนแปลงด้วย

ดังนั้น จุดเริ่มต้นของชีวิต จึงจำเป็นต้องพัฒนา Mindset กรอบความคิด หรือชุดความคิด ให้ถูกต้องเป็นสิ่งแรก เพื่อจะได้ให้การดำเนินชีวิตมีความปกติ ที่จะเอื้อต่อการประสบความสำเร็จ และมีความสุขในชีวิตประจำวัน

Growth mindset

ทฤษฎีเกี่ยวกับ Mindset

ในหนังสือ "Mindset" ของนักจิตวิทยาชื่อดัง Stanford Carol Dweck ที่เป็นนักจิตวิทยาด้านมายเซต (Mindset Psychology) กล่าวว่า

"ไม่ใช่ความฉลาด ความสามารถ หรือการศึกษาที่ทำให้คนเราประสบความสำเร็จแตกต่างกันออกไป แต่เป็นกรอบความคิดต่างหาก ที่ส่งผลต่อวิธีจัดการกับความท้าทายที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของแต่ละบุคคล"

ซึ่ง Carol Dweck เจ้าของทฤษฏี ได้แบ่ง Mindset ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • Growth Mindset
  • Fixed Mindset

Growth Mindset คืออะไร

Growth Mindset คือ การมีกรอบความคิดที่เชื่อว่า การพยายามอย่างหนัก ความพากเพียร และความมุ่งมั่น นั้นสามารถปรับปรุงและพัฒนาตัวเองได้

ตามที่นักประสาทวิทยา Gilbert Gottlieb ยืนยันว่า ความฉลาดถูกกำหนดโดยการผสมผสานของยีนและสิ่งแวดล้อม และสภาพแวดล้อมนั้น มีอิทธิพลต่อการกระตุ้นยีนในช่วงชีวิตของคนเรา ไม่ว่าบุคลิกภาพขจะถูกกำหนดโดยธรรมชาติ หรือการเลี้ยงดูนั้น ยังคงเป็นข้อที่ถกเถียงกันอย่างหนัก

แต่สำหรับ Dweck เชื่อว่าคนเราสามารถพัฒนาทักษะ ความสามารถ พรสวรรค์ และแม้แต่สติปัญญาของตัวเราเองผ่านประสบการณ์ การฝึกฝน และความพยายามได้

คำติชมและข้อผิดพลาดช่วยให้เราเรียนรู้จากสิ่งเหล่านั้น และปรับปรุงให้ได้ดีขึ้น Dweck เรียกสิ่งนี้ว่าการมีส่วนร่วมอย่างมีจุดมุ่งหมาย

ในการวิจัยของ Dweck ได้สร้างทฤษฎี neuroplasticity ซึ่งเป็นความสามารถของสมองในการสร้างการเชื่อมต่อใหม่ไปสู่วัยผู้ใหญ่หลังจากที่ได้รับความเสียหาย หรือเมื่อถูกกระตุ้นโดยประสบการณ์ใหม่ๆ สิ่งนี้สนับสนุนแนวคิดที่ว่า คุณสามารถใช้กรอบความคิดแบบ Growth Mindset ได้ตลอดเวลาในทุกช่วงของชีวิต แม้คุณอาจจะไม่ใช่ Thomas Edison แต่กรอบความคิดแบบเติบโตนี้จะสามารถช่วยให้เราตระหนักถึงศักยภาพของตนเองผ่านการเรียนรู้และฝึกฝน

นี่คือเหตุผลที่ Carol Dweck กล่าวว่าการชื่นชมเมื่อมีคนทำได้ดีนั้น จะช่วยเสริมสร้างทัศนคติที่มุ่งมั่นได้เป็นอย่างดี จะกระตุ้นให้ลงมือทำเพื่อความสำเร็จในอนาคตต่อไป การชมเชยผลลัพธ์ทำให้ผู้คนรู้สึกดีกับตัวเอง

Fixed mindset

Fixed Mindset คืออะไร

Fixed Mindset คือ การมีกรอบความคิดที่เชื่อว่า ความฉลาด ความสามารถ และพรสวรรค์อื่นๆ เป็นเรื่องของโชคชะตากำหนดไว้ และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

หากคุณมี Mindset แบบนี้ คุณอาจจะรู้สึกว่าคุณไม่ฉลาด หรือมีความสามารถมากพอที่จะบรรลุเป้าหมายได้ โดยเลือกทำเฉพาะสิ่งที่คิดว่าตนเองถนัด และทำได้ดีเท่านั้น

ที่แย่ไปกว่านั้น บุคคลที่มี Mindset แบบนี้ อาจกลัวว่าความสำเร็จของสมาชิกในทีมจะเกินความสามารถของตนเอง หรือกังวลว่าคนอื่นจะสังเกตเห็นว่าเขาขาดทักษะ ดังนั้นเขาอาจพยายามกีดกัน ป้องกันไม่ให้สมาชิกในทีมได้มีโอกาสพัฒนาทักษะใหม่ๆ โดยพยายามปิดกั้นโอกาสไม่ให้ทีมได้ก้าวหน้าในอาชีพ

Dweck และทีมวิจัยของเขา ได้ศึกษาสมองของบุคคลที่มี Mindset ทั้ง 2 โดยผู้ที่มีความเชื่อแบบ Growth Mindset เชื่อว่าพวกเขาสามารถเติบโตได้ด้วยความพยายามและการฝึกฝน พวกเขาคิดว่าพวกเขาสามารถทำอะไรได้ดีกว่านี้ ถ้าพวกเขาพยายามมากพอ

ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่มีกรอบความคิดแบบ Fixed Mindset เชื่อว่าความสามารถนั้นถูกกำหนดไว้ตั้งแต่อายุยังน้อย และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อถามถึงความสามารถของพวกเขา ทั้งสองกลุ่มตอบสนองต่างกัน ผู้ที่มีกรอบความคิดแบบ Growth Mindset จะรู้สึกดีเมื่อพวกเขาได้รับคำชมสำหรับความพยายามของพวกเขา ในขณะที่ผู้ที่มีกรอบความคิดแบบ Fixed Mindset กลับไม่รู้สึกเช่นนั้น


วิธีพัฒนา Mindset

จะพัฒนา Mindset ได้อย่างไร

วิธีพัฒนา Mindset นั้น Carol Dweck เจ้าของทฤษฎีกรอบความคิดนี้ มีขั้นตอนง่ายๆ ที่จะช่วยให้เปลี่ยนวิธีคิดใหม่ได้ 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ฟังเสียงภายในของตนเอง (Listen to yourself)

ตั้งใจฟังเสียงความคิดของคุณ ความคิดนั้นช่วยให้คุณก้าวไปสู่เป้าหมายหรือไม่? หรือกำลังฉุดรั้งคุณไว้? ความคิดนั้นกำลังวิจารณ์ตัวเองอยู่หรือเปล่า? สมองของคุณกำลังบอกคุณว่าคุณไม่ดีพอ ไม่ฉลาดพอ ไม่เก่งพอ ไม่สวยพอ ไม่ผอมพอ ไม่รวยพอ หรือประสบความสำเร็จไม่พอ?

ถ้าเป็นเช่นนั้น คุณอาจติดอยู่ในร่องของความคิดแบบ Fixed Mindset คุณอาจกลัวที่จะลองอะไรใหม่ๆ เพราะกลัวว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ถ้าคุณสามารถเปลี่ยนมุมมองของคุณได้ล่ะ? จะเป็นอย่างไรถ้าคุณได้ยินเสียงวิจารณ์ในตัวคุณแทนที่จะปล่อยให้เขาทำไปอัตโนมัติแบบธรรมชาติตามความเคยชิน

ขั้นตอนที่ 2 ตระหนักว่ามีทางเลือกเสมอ (Recognize that you have a choice)

ตระหนักดีว่า ทุกคนต้องเผชิญกับอุปสรรค ความท้าทาย และความพ่ายแพ้ในช่วงชีวิตกันทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ที่สำคัญคือ แต่ละคนนั้นมีวิธีการตอบสนองต่อสถานการณ์เหล่านั้นแตกต่างกัน จึงประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวแตกต่างกัน

หากคุณมีทัศนคติคิดว่า "ฉันไม่ดี" คุณอาจรู้สึกแย่กับตัวเอง และบั่นทอนขีดความสามารถของคุณอยู่ตลอดเวลา ในทางกลับกัน หากคุณมองว่าอุปสรรคต่างๆที่ผ่านเข้ามาแต่ละครั้งนนั้น เป็นโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ คุณก็จะสามารถเริ่มพัฒนาตนเอง เปลี่ยนแปลงตนเองได้ ทำให้คุณต้องพยายามมากขึ้นในครั้งต่อไป โดยหาวิธีทำงานอย่างชาญฉลาดมากขึ้น หรืออาจเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ๆเพื่อให้ประสบความสำเร็จ

ขั้นตอนที่ 3 ท้าทายความคิดแบบ Fixed mindset

เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทาย และได้ยินเสียงความคิดว่า "ฉันไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร" หรือ "ฉันไม่คิดว่าฉันจะทำสิ่งนี้ได้" จำไว้ว่าคุณสามารถมีทักษะเพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายได้เหมือนคนอื่นๆ แม้คุณอาจจะไม่ประสบความสำเร็จในครั้งแรก แต่การฝึกฝนทำซ้ำบ่อยๆ จะช่วยให้คุณพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของคุณ

ถ้าเป็นแนวปฏิบัติจากผู้เขียนเอง ขั้นตอนนี้ คือ การกระทำตรงข้ามกับเสียงขัดขวางภายในใจ ให้เราก้าวข้ามเสียงนั้น ด้วยการลงมือทำในสิ่งตรงกันข้าม เช่น เสียงในหัวบอกว่า "อย่าเลย ยังไม่ต้องทำ ขอพักก่อน" เมื่อได้ยินเสียงขึ้นภายในหัว ก็จะรีบลงมือทำทันที เพื่อไม่ทำตามเสียงขัดขวางนั้น เมื่อทำแบบนี้บ่อยๆ เราจะมีพลังชีวิต หรือกำลังใจที่แน่วแน่เป็นอย่างมาก

ขั้นตอนที่ 4 ลงมือทำ (Take action)

เมื่อคุณฝึกฝนการให้มีสติเท่าทันในการคิดและการกระทำแล้ว การลงมือทำจะเป็นการรับมือกับอุปสรรคในทางบวก และต่อไปจะกลายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เช่นเดียวกับการเล่นดนตรีก็ต้องมีการฝึกฝน การเล่นกีฬาก็เช่นเดียวกัน ต้องมีการฝึกบ่อยๆซ้ำๆ ถึงจะเก่งขึ้น

การรับมือกับความท้าทายของชีวิตก็เช่นเดียวกัน เมื่อพบกับเรื่องยากๆผ่านเข้ามาในชีวิต ก็ย่อมฝึกฝนให้เราได้เก่งขึ้นนั่นเอง


หลวงพ่อกล้วย

วิธีพัฒนา Mindset แบบพุทธ

แนวทางการพัฒนา Mindset แบบพุทธ อาจมีความแตกต่างจากสายจิตวิทยาอยู่ที่เป้าหมาย เพราะแนวทางของพุทธนั้นเน้นให้ถึงการดับทุกข์ ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก ส่วนของจิตวิทยาจะเน้นการพัฒนา Mindset เพื่อให้ชีวิตมีความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิตเท่านั้น และแนวทางการปฏิบัติอาจจะแตกต่างจากแนวทางของพุทธเป็นอย่างมาก เพราะเครื่องมือในการพัฒนา Mindset แบบพุทธจะเน้นที่การมี "สติ" หรือการเจริญสติให้ต่อเนื่อง แต่ก็อาจเทียบเคียงกับ Mindset แบบจิตวิทยาโดยแบ่งได้ ดังนี้

Growth Mindst คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก

Fixed Mindset คือ มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด

ซึ่งในบทความนี้ ผู้เขียนจะนำตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติตามวิธีที่หลวงพ่อสำราญ ธมฺมธุโร หรือหลวงพ่อกล้วย แห่งวัดป่าธรรมอุทยาน จ.ขอนแก่น ที่ท่านได้เมตตาสอนผู้เขียนเอง มาสรุปเป็นแนวทางสั้นๆ เพื่อได้เห็นแนวทางของกาารพัฒนา Mindset แบบพุทธพอให้ได้เข้าใจ ดังนี้

ก่อนที่จะพัฒนา Mindset ได้นั้น ให้เข้าใจเรื่องของความคิดกันชัดๆก่อนว่าความคิดไหนควรพัฒนาต่อยอด หรือความคิดไหนควรดับทิ้ง ซึ่งมีอยู่ 3 ความคิด โดยใช้การเจริญสติ เข้าไปดู เข้าไปจัดการในแต่ละความคิด

  1. ความคิดที่เกิดจากสมอง
  2. ความคิดที่ไม่ตั้งใจคิด
  3. ความคิดที่เกิดจากตัวจิต

1.ความคิดที่เกิดจากสมอง

อันนี้เป็นความคิดที่มนุษย์ทุกคนต้องมี ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ ความคิดที่เกิดจากสมองยังคงทำงานไปตามปกติ แต่ท่านให้ใช้วิธีการ คือ ให้คิดแต่สิ่งที่ดี สิ่งที่เป็น "กุศล" เท่านั้น ความคิดที่ไม่ดี ความคิดแบบอกุศล คิดลบต่างๆ ให้ดับทิ้ง ให้หยุดคิด แล้วสมองของเราก็จะได้พัก และประหยัดสมองไปในตัว

2.ความคิดที่ไม่ตั้งใจคิด

ความคิดที่ไม่ตั้งใจคิด คือความคิดจร ที่ผุดๆเข้ามาในหัว ท่านให้ตามดู ตามรู้ จนเห็นว่าไม่มีสาระประโยชน์อะไร จนเห็นวงจรของมันคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นตามกฎของไตรลักษณ์ ถ้าเห็นไตรลักษณ์ ปัญญาก็จะเกิด

3.ความคิดที่เกิดจากตัวจิต

ความคิดที่เกิดจากจิต คือความคิดที่เจือปนจนเกิดเป็นอารมณ์ ความรู้สึก อคติต่างๆ ความคิดตัวนี้ท่านให้ดับทิ้ง ไม่ปล่อยให้มันมีกำลังเกิดต่อ

ทีนี้แนวทางในการพัฒนา Mindset แบบพุทธ ก็คือให้เราเจริญสติ ระลึกรู้อยู่กับปัจจุบัน ให้เท่าทันความคิด ไม่ปล่อยให้ความคิดมาปรุงแต่งจิตให้เป็นอารมณ์ต่างๆ เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ และพัฒนาขึ้นความคิดกับจิตจะอยู่คนละส่วนกัน ผลลัพธ์ที่ได้คือ บุคคลที่พัฒนา Mindset แบบพุทธแล้วนั้น จะเป็นผู้ที่ คิด พูด ทำ แต่สิ่งที่ดี เมื่อการดำเนินชีวิตประกอบไปด้วย คิดดี พูดดี ทำดี ชีวิตก็จะมีความสุข มีความก้าวหน้า อย่างแท้จริง


Mindset Quotes

“คุณไม่สามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ เว้นแต่คุณจะฝันถึงมันก่อน”

- Pablo Picasso -

“วิธีที่ดีที่สุดในการทำนายอนาคต คือการสร้างมันขึ้นมา”

- ปีเตอร์ ดรักเกอร์ -

“ถ้าเราไม่เปลี่ยนทิศทาง เราก็จะไปถึงจุดที่เรากำลังมุ่งหน้าไป”

- จอห์น เอฟ. เคนเนดี -

“ฉันไม่สนใจที่จะคาดเดาสิ่งที่ฉันจะคิดในวันพรุ่งนี้ ฉันเพียงต้องการให้แน่ใจว่าวันนี้ฉันจะคิดมันให้ชัดเจน”

- โสกราตีส -

“สิ่งที่กำหนดชะตากรรมของเราไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา แต่เป็นวิธีที่เราตอบสนองต่อสิ่งนั้นต่างหาก”

- ชาร์ลส์ เอ็ม. ชวาบ -

“เรามักจะประเมินผลกระทบของวิกฤตสูงเกินไป และประเมินพลังของโอกาสต่ำไป”

- วอร์เรน บัฟเฟตต์ -

“ผู้มองโลกในแง่ร้ายมองเห็นความยากลำบากในทุกโอกาส ผู้มองโลกในแง่ดีมองเห็นโอกาสในทุกปัญหา”

- วินสตัน เชอร์ชิลล์ -

“เมื่อล้มแล้วให้ลุกขึ้นใหม่ ถ้าอยู่เฉยๆ จะไม่มีทางรู้ว่าใครสามารถช่วยให้คุณลุกขึ้นกลับมาได้”

- โอปราห์วินฟรีย์ -

“อย่ายอมแพ้! และจำไว้เสมอว่า...คุณกล้าหาญกว่าที่คุณเชื่อ แข็งแกร่งกว่าที่คุณเห็น และฉลาดกว่าที่คุณคิด”

- คริสโตเฟอร์ โรบิน -

“อย่าให้ใครบอกว่าคุณทำไม่ได้ เพียงแค่คุณต้องพิสูจน์ว่าคนนั้นพูดผิด”

- ไมเคิลจอร์แดน -

“ชีวิตไม่ใช่การรอคอยให้พายุผ่านพ้น...แต่เป็นการเรียนรู้ที่จะเต้นรำกลางสายฝน”

- วิเวียน กรีน -

“การอยู่อย่างพอเพียง ค้นหาสิ่งที่ทำให้คุณมีความสุขแล้วทำให้มันเกิดขึ้น ไม่ต้องกังวลเรื่องการหาเงิน”

- เดวิด ชวาร์ตซ์ -

Attitude

ถาม-ตอบ (Q&A Mindset Examples)

1. ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่า Mindset ของฉันถูกต้อง?

ถ้าสิ่งที่ทำนั้น รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดี ไม่มีผลเสียหายกับใคร แล้วเราเองรู้สึกว่ามีพลังในการลงมือทำ ให้รีบลงมือทำทันที ไม่ต้องคิดเยอะ เวลาผ่านจะจะเป็นตัวให้คำตอบเองว่าสิ่งที่คิดนั้น เป็น Mindset ที่ถูกต้องหรือไม่

2. อะไรคือความแตกต่างระหว่างการคิดบวกกับการมีทัศนคติเชิงบวก?

การคิดบวกหมายความว่าคุณเชื่อมั่นในตัวเองและสิ่งที่คุณสามารถทำได้ การมีทัศนคติที่ดีหมายความว่าคุณยอมรับในตัวตนของคุณและยอมรับจุดแข็งของคุณ การคิดบวกไม่ได้หมายความว่าคุณไม่มีข้อบกพร่อง มันหมายความว่าคุณรู้จักและพยายามหลีกเลี่ยงข้อบกพร่องนั้นต่างหาก ทัศนคติเชิงบวกไม่ได้หมายความว่าให้เพิกเฉยต่อจุดอ่อนนั้น แต่เน้นว่าจะปรับปรุงและพัฒนาจุดอ่อนเหล่านั้นได้อย่างไรต่างหาก

3. ทำไมฉันมักจะพยายามเปลี่ยนคนอื่นแทนที่จะเปลี่ยนตัวเอง?

คุณไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของคนอื่นได้ เฉพาะตัวคุณเองเท่านั้น เมื่อคุณพยายามบังคับคนอื่นให้มีพฤติกรรมแตกต่างออกไป พวกเขาจะไม่ทำตามในที่สุด ให้เน้นที่การเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน เมื่อคุณกลายเป็นคนที่ดีขึ้นแล้ว คนอื่นก็จะตามมาเอง

4. ฉันจะเอาชนะความกลัวที่จะล้มเหลวได้อย่างไร?

การกลัวความล้มเหลวเป็นเรื่องปกติ ทุกคนจะประสบกับเรื่องนี้ในบางช่วงชีวิต อย่างไรก็ตาม หากคุณปล่อยให้ความกลัวรั้งคุณไว้ ชีวิตก็จะล้มเหลว เพื่อเอาชนะความกลัวนี้ คุณต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดและก้าวต่อไป อย่าจมปลักอยู่กับอดีต และอย่าให้มันมากระทบอนาคตของคุณ

5. ฉันจะจัดการกับความคิดเชิงลบได้อย่างไร?

ความคิดเชิงลบทำให้เกิดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ความคิดเชิงลบยังนำไปสู่ความสงสัยในตนเองและขาดความมั่นใจ หากคุณพบว่าตัวเองกำลังจมอยู่กับความคิดเชิงลบ ให้ถอยออกมาแล้วถามตัวเองว่าจะทำอย่างไรเพื่อทำให้ตัวเองมีความสุข จดจ่อกับสิ่งที่ดีในชีวิตของคุณและเตือนตัวเองถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ทั้งหมดที่คุณทำสำเร็จแล้ว

6. ฉันจะยังคงมีแรงจูงใจได้อย่างไร?

กำลังใจคือเชื้อเพลิงที่ทำให้เราก้าวต่อไป ถ้าปราศจากแรงจูงใจ เราก็ทำอะไรไม่ได้ แรงจูงใจมาจากสิ่งต่างๆ มากมาย รวมทั้งสิ่งแวดล้อม ครอบครัว เพื่อนฝูง และตัวเราเอง คุณต้องท้าทายตัวเองอยู่เสมอ ท้าทายตัวเองทางจิตใจ ร่างกาย อารมณ์ และจิตวิญญาณ

7. ฉันจะรับมือกับความเครียดได้อย่างไร?

ความเครียดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราทุกคนต่างประสบกับมันในบางจุดในชีวิตของเรา ความเครียดอาจเป็นได้ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ หรือจิตวิญญาณ การรับมือกับความเครียดเป็นทักษะที่เรียนรู้ ด้วยการเรียนรู้ที่จะจัดการกับความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพ คุณจะมีชีวิตที่มีความสุขและมีสุขภาพดีขึ้นได้


สรุป

Mindset หรือกรอบความคิด เป็นจุดเริ่มต้นที่ส่งผลต่อ ทัศนคติ (Attitude) บุคลิกภาพ พฤติกรรม และโชคชะตาของแต่ละบุคคล ให้มีความสุขและความสำเร็จที่แตกต่างกัน

ซึ่ง Mindset นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับการศึกษา แต่ขึ้นอยู่กับว่าใครพัฒนา Minset ของตนเองได้มากน้อยเพียงใด เพราะ Mindset ถือเป็นหนึ่งใน Soft Skills ที่ควรพัฒนาเร่งด่วน หากต้องการมีความสุข และประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต

สำหรับแนวทางในการพัฒนากรอบความคิดนั้น มีหลากหลายแนวทาง ขึ้นอยู่กับจริตของแต่ละบุคคลที่จะเลือกพัฒนา และทุกวันนี้ยังมี Mindset Applications หรือโปรแกรมช่วยพัฒนากรอบความคิดให้เลือกใช้อย่างมากมาย เข้าไปอ่านได้ในบทความ โปรแกรมสร้าง Mind Map


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทางข้อความ Messenger

Mind Map คืออะไร?

Mind Map ภาษาไทยอ่านว่า "มายแมพ" คือ แผนผังทางความคิดที่ใช้ภาพแทนความคิด แนวคิด และข้อมูล ที่แสดงโครงสร้างแบบลำดับชั้น ใช้เพื่อแสดงภาพหัวข้อที่ซับซ้อน และความสัมพันธ์กันระหว่างแนวคิดต่างๆ ซึ่งนิยมใช้เพื่อจัดระเบียบทางความคิด และเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อที่เกี่ยวข้อง นิยมนำไปใช้เพื่อระดมสมอง วางแผน หรือจัดระเบียบ เป็นต้น

เป็นหนึ่งใน Soft Skills ที่ควรพัฒนาเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะสร้างความได้เปรียบในการทำงาน ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ Soft Skills คืออะไร

Mind Maps

ประโยชน์ของ Mind Map

การจัดทำผังทางความคิดนั้นมีประโยชน์ต่างๆมากมาย ในทุกสาขาอาชีพ อาทิ

  • ช่วยให้เข้าใจความคิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น
  • ช่วยให้จดจำสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
  • ช่วยให้แตกความคิดใหม่ๆได้ง่ายขึ้น
  • ทำให้มีระเบียบทางความคิดมากขึ้น
  • ช่วยให้มีสมาธิมากขึ้น
  • ช่วยเพิ่มความสามารถในการเขียนได้ดีขึ้น
  • ช่วยคุณแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้ง่าย
  • ช่วยปรับปรุงความจำดีขึ้น
  • เป็นการพัฒนาทักษะทางความคิดได้อย่างมีวิจารณญาณ
  • ช่วยให้มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
  • ช่วยให้วางแผนอย่างเป็นระบบ
  • ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้ครบถ้วน แม่นยำขึ้น
  • ง่ายและสะดวกสำหรับการค้นหาข้อมูล
  • ทำให้เห็นช่องว่างของความรู้
  • ช่วยลำดับความสำคัญของงานได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยให้เห็นภาพง่ายขึ้น
  • ช่วยให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดต่างๆชัดขึ้น
Problem

ตัวอย่างการนำเอา Mind Map ไปใช้งาน

ตัวอย่างการนำไปใช้งาน (Mind map examples) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ที่พบเห็นบ่อยๆ ได้แก่

  • การระดมความคิด (Brainstorm)
  • การแก้ปัญหา (Problem Solving)
  • การวางแผนโครงการ (Project Management)
  • พัฒนากลยุทธ์ (Strategic Development)

การระดมความคิด (Brainstorm)

การระดมสมองเป็นเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการสร้างวิธีแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้ให้ได้มากที่สุด ในการทำเช่นนี้ ควรจดทุกความคิดที่อยู่ในหัว หลังจากนั้น ให้จัดกลุ่มความคิดเหล่านี้ตามความคล้ายคลึงกัน ตัวอย่างเช่น ให้สามารถจัดกลุ่มแนวคิดที่คล้ายกันภายใต้หมวดหมู่เดียว หรือสามารถรวมหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกันเป็นหมวดหมู่ย่อยได้

การแก้ปัญหา (Problem Solving)

การแก้ปัญหาเป็นงานที่ซับซ้อน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการระบุปัญหา วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และพัฒนาวิธีแก้ไขปัญหา เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ควรจะแบ่งปัญหาออกเป็นกลุ่มย่อยๆ แตกประเด็นเล็กๆ เหล่านี้ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการคิดวิเคราะห์ จากนั้นค่อยพัฒนากลยุทธ์เพื่อจัดการแต่ละส่วนไปทีละส่วนๆ

การวางแผนโครงการ (Project Planing)

การทำงานโครงการเป็นแนวทางที่เป็นระบบในการบริหารจัดการทรัพยากร และงานที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเฉพาะ ก่อนเริ่มโครงการควรกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ก่อน

เมื่อกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์แล้ว จึงกำหนดขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ จากนั้นถึงค่อยมาจัดลำดับความสำคัญของขั้นตอนตามความสำคัญอีกที

พัฒนากลยุทธ์ (Strategic Development)

กลยุทธ์คือแผนงานที่ออกแบบมาเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะ การพัฒนากลยุทธ์จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดปัญหา กำหนดสาเหตุ และคิดหามาตรการ วิธีแก้ไข

เมื่อระบุสาเหตุได้แล้ว ถึงจะสามารถคิดหาวิธีแก้ไขได้ จากนั้นถึงสามารถประเมินผลลัพธ์ของโซลูชันต่างๆได้ เพื่อที่จะสามารถตัดสินใจได้ว่าการแก้ปัญหานั้นจะสำเร็จหรือไม่ หากไม่สำเร็จ จะะมีโซลูชันไหน และต้องแก้ไขขั้นตอนใดบ้าง


7 ขั้นตอน สร้าง Mind Map ที่มีประสิทธิภาพ

การทำแผนผังความคิด (Mind Map Maker) นับว่าเป็นเป็นเครื่องมือสร้างสรรค์ที่ใช้ในการระดมความคิด เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจที่ดีในการทำงานเป็นทีม (Collaborative Mind) ต่อไปนี้เป็นวิธีสร้างแผนผังความคิด โดยมีหลักสำคัญในการเขียน Mind map ดังนี้

Create Mind Map Step :

1. เริ่มต้นด้วยหน้าว่าง

เริ่มต้นด้วยการสร้างจากหน้ากระดาษเปล่าๆ ใช้กระดาษแผ่นใหญ่ๆ พื้นที่ไวท์บอร์ด หรือในคอมพิวเตอร์ ก็ได้

2. สร้างหัวเรื่อง

จากนั้น ให้เขียนหัวข้อ โดยหัวข้อเหล่านี้ควรเป็นหมวดหมู่กว้างๆ เป็นภาพใหญ่ๆก่อน ตัวอย่างเช่น "กลยุทธ์ทางธุรกิจ" หรือ "แผนการตลาด" เป็นต้น

3. เขียนหัวข้อย่อย

เมื่อได้หัวเรื่องแล้ว ต่อมาก็ให้เขียนหัวข้อย่อยแต่ละหัวข้อ หัวข้อย่อยเหล่านี้ควรเป็นรายละเอียดเฉพาะที่สอดคล้องกับหัวข้อหลัก ตัวอย่างเช่น 'อะไรทำให้ผลิตภัณฑ์ของฉันแตกต่าง' หรือ 'ทำไมบริษัทของฉันถึงมีอยู่'

4. เพิ่มรูปภาพให้กับ Mind Mapping

ค่อยๆ เพิ่มรูปภาพลงไป เพื่อสนับสนุนความคิด และตรวจสอบให้แน่ใจว่า Mind Maps นั้นดูเป็นมืออาชีพ และอย่าลืมทำให้เป็น Mind Map สวยๆ ด้วย

5. เชื่อมโยงความคิดเข้าด้วยกัน

เชื่อมโยงความคิดเข้าด้วยกันโดยการวาดเส้นระหว่างกัน อย่ากังวลมากเกินไปเกี่ยวกับการทำให้ทุกอย่างเรียบร้อย เพียงเชื่อมโยงแนวคิดที่ดูเกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน

6. ทำซ้ำตามต้องการ

ทำซ้ำในขั้นตอนที่ 2–5 ไปมา จนกว่าคุณจะรู้สึกว่าครอบคลุมทุกอย่างแล้ว

7. แชร์!

แบ่งปันผังความคิดของคุณแก่ผู้อื่น เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสดงความคิดเห็นในสิ่งที่คุณเขียนขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น และตัวเราเองด้วย

Project

Mind Mapping Software

Mind Mapping Software ช่วยให้ผู้คนจัดระเบียบความคิดโดยการสร้างภาพแทน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการจัดระเบียบทางความคิดให้เป็นหมวดหมู่ และนี่คือ 5 Applications ที่ช่วยในการสร้าง Mind Map สวยๆ

แอพต่างๆที่เป็น Mind mapping tools ช่วยให้คุณจัดระเบียบความคิด แสดงภาพการเชื่อมต่อระหว่างแนวคิด และนำเสนอข้อมูล มีประโยชน์ต่อการบริหารโครงการ (Project Management) ได้เป็นอย่างดี

Mind Maps คือการแสดงภาพที่เราคิด

mind maps สามารถช่วยคุณจัดระเบียบความคิดและวางแผนล่วงหน้าได้ ด้วยการสร้างไดอะแกรมแนวคิดของคุณ จะเห็นว่าเชื่อมโยงกันอย่างไร นอกจากนี้ หากกำลังพยายามคิดหาหนทางแก้ปัญหา ก็สามารถสร้างผังความคิดเพื่อเริ่มต้นได้เช่นกัน

Mind Mapping Software ช่วยให้ผู้คนจัดระเบียบความคิดโดยการสร้างภาพแทน ทำให้การจับภาพแนวคิดหลักทำได้ง่าย โดยใช้วิธีแตกแนวคิดย่อยออกเป็นสาขาจากแนวคิดหลักเพียงแนวคิดเดียว นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณจัดเรียงใหม่ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

โปรแกรมหรือแอพส่วนใหญ่ มักนำเสนอคุณสมบัติการจัดการงานและโครงการ ซึ่งเราสามารถเลือกมุมมองได้หลายแบบ เช่น แบบแผนภูมิแกนต์ แบบบอร์ด แบบKanban หรือ Scrumboard นอกจากนี้ยังสามารถ export ส่งออกไปยังสเปรดชีต Excel เพื่อสร้างรายงานง่ายๆ ได้

สิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซอฟต์แวร์ก็คือแพลตฟอร์มที่รองรับกับคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนที่มีด้วย เช่น iOS, Android, Mac, Windows หรือ Linux โปรแกรมเหล่านี้จะทำงานได้ดีในระะบบปฏิบัติการที่ระบุไว้

อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการใช้โปรแกรมแบบออฟไลน์ ก็มีซอฟต์แวร์บางตัวที่สามารถติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้เลย

นี่คือ 5 โปรแกรมที่ได้รับความนิยม ซึ่งลองพิจารณาในรายละเอียด ว่ามีตัวไหนที่จะเหมาะสมสำหรับการใช้งาน

1. MindMeister

MindMeister เป็นเครื่องมือใช้สร้างผังความคิดร่วมกัน แล้วแชร์ต่อสาธารณะ หรือแบบส่วนตัวได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำเข้าและส่งออกไปยัง Microsoft Office รวมถึงสเปรดชีต Excel งานนำเสนอ Powerpoint และสมุดบันทึก OneNote MindMeister เป็นเบราว์เซอร์ที่ใช้ คุณจึงสามารถเข้าถึงได้จากอุปกรณ์ใดๆ ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต MindMeister เสนอแผนพื้นฐานฟรี บวกกับแผนชำระเงินสำหรับบุคคล ($59/ปี) ทีม ($79/ปี) และธุรกิจ ($149/ปี)

MindMeister เป็นเครื่องมือออนไลน์สำหรับสร้าง Mind Maps คุณสามารถสร้างไฟล์เหล่านี้ร่วมกับผู้อื่น แล้วเผยแพร่เพื่อให้คนอื่นดูได้ MindMeister สร้างขึ้นสำหรับการใช้งานบนเว็ปเบราว์เซอร์ และยังมาพร้อมกับแอป iOS และ Android

เวอร์ชันฟรีช่วยให้คุณผังความคิดได้สูงสุด 3 ผัง รุ่นPersonal ($59/ปี) สามารถเพิ่มไฟล์และรูปภาพลงในมายแมพของคุณได้ ส่วนรุ่น Professional ($79/ปี) เพิ่มความสามารถบันทึกเป็น PDF และรูปภาพ และส่งออกไปยังรูปแบบ Microsoft Office ส่วนรุ่น Enterprise ($149/ปี) เพิ่มฟังก์ชันการทำงานเพิ่มเติม รวมถึงการสนับสนุนระบบทีม และเชื่อมต่อกับ Google Workspace ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ MindMeister ยังเสนอแอปพลิเคชันแบบสแตนด์อโลนที่เรียกว่า MeisterTask ที่สามารถทำงานร่วมกับ MindMeister ได้ ตัวอย่างเช่น คุณอาจเลือกองค์ประกอบในผังความคิด แล้วมอบหมายรายการนั้นให้กับตัวคุณเองหรือเพื่อนร่วมงานคนใดคนหนึ่งของคุณ สามารถเข้าถึงและจัดการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานภายใน MeisterTask ได้ การสมัครสมาชิก MeisterTask สามารถซื้อแยกต่างหากจาก MindMeister อย่างไรก็ตาม การเชื่อมต่อระหว่างสองแอปพลิเคชันอาจทำให้เป็นแนวคิดการผสมผสานที่น่าสนใจสำหรับการจัดการโครงการ

2. Mindomo

Mindomo ทำงานบนอุปกรณ์ใดก็ได้ ทุกที่ ทุกเวลา รุ่นฟรีช่วยให้คุณสร้าง แบ่งปัน และทำงานร่วมกันได้ถึง 3 แผนผังความคิด อัปเกรดเป็นพรีเมียม ($66/ปี) ไม่จำกัดจำนวนผังความคิด เพิ่มการรองรับไฟล์แนบ และให้คุณส่งออกในรูปแบบต่างๆ ได้ 10 รูปแบบ Professional ($ 162/ปี) เพิ่มผู้ใช้ทั่วไป 5 คน, เปิดให้มีการแก้ไขได้จากผู้เยี่ยมชม, สำรองข้อมูลไปยัง Dropbox, OneDrive & Google Drive และคุณสมบัติการจัดการ Team Edition ($200/ปี) เพิ่มขีดจำกัดผู้ใช้ เพิ่มการควบคุมผู้ดูแลระบบ แชร์โฟลเดอร์ร่วมกัน และมีการสนับสนุนราคาเพื่อการศึกษาด้วย

Mindomo มีหลายวิธีในการนำเสนอแนวคิด คุณสามารถสร้างผังความคิด รายการตรวจสอบ ไทม์ไลน์ แผนภูมิแกนต์ และอื่นๆ อีกมากมาย มุมมองแต่ละประเภทมีชุดตัวเลือกเฉพาะสำหรับการแสดงข้อมูลของคุณ ตัวอย่างเช่น มุมมองเค้าร่างให้คุณป้อนและแสดงรายการตามลำดับชั้น ในขณะที่มุมมองการนำเสนอช่วยให้คุณจัดเรียงรายการในลักษณะเชิงเส้นได้

3. XMind

XMind นำเสนอเครื่องมือการทำแผนที่ที่หลากหลาย รวมถึงแผนที่ความคิด แผนภูมิเชิงตรรกะ แผนผังองค์กร ต้นไม้ ไทม์ไลน์ ก้างปลา ตารางต้นไม้ และเมทริกซ์

มีตัวเลือกราคาที่แตกต่างกันสามแบบ: บุคคล (เริ่มต้นที่ $59), ธุรกิจ ($ 299) และองค์กร ($ 999) คุณสามารถซื้อหนึ่งแผนสำหรับใช้งานาคนเดียว หรือสำหรับทำงานเป็นทีมหลายคนก็ได้

ด้วยการสมัครสมาชิกครั้งเดียว คุณสามารถเข้าสู่ระบบและใช้ XMind ได้ในหลายอุปกรณ์และหลายแพลตฟอร์ม อย่างไรก็ตาม การซิงค์ไฟล์และพื้นที่จัดเก็บขึ้นอยู่กับการใช้ผู้ให้บริการคลาวด์ที่คุณเลือก เนื่องจาก XMind ไม่ได้เสนอโซลูชันการจัดเก็บข้อมูลและการซิงค์ที่มีการจัดการ ตัวอย่างเช่น เวอร์ชันเว็บช่วยให้คุณสามารถเชื่อมต่อกับ Dropbox, เอกสาร Google หรือ Office หรือ OneDrive เพื่อสร้างและแก้ไขผังความคิด และแอป iOS ช่วยให้คุณสามารถเชื่อมต่อกับ iCloud สำหรับการซิงโครไนซ์ไฟล์

คุณสมบัติอาจแตกต่างกันไปตามแพลตฟอร์มแอพ ตัวอย่างเช่น บน macOS Xmind มีทั้งโหมด Zen (สำหรับแบบเต็มหน้าจอ) และโหมด pitch (เพื่อดูแผนที่ความคิดของคุณทีละโหนด) โหมด Zen ช่วยให้คุณจดจ่อกับความคิดได้โดยไม่วอกแวก ในขณะที่โหมด pitch จะช่วยนำทางความคิดให้คุณได้

4. SimpleMind Pro

SimpleMind Pro มีให้สำหรับการซื้อแพลตฟอร์มเดียว โดยมีรุ่นสำหรับ macOS (ประมาณ 30 ดอลลาร์) Microsoft Windows (ประมาณ 30 ดอลลาร์) และ iOS/iPadOS (10 ดอลลาร์) นอกจากนี้ยังมีเวอร์ชันจำกัดสำหรับ Android ($8.50) และอุปกรณ์ Apple คุณสามารถเชื่อมโยงแอปกับบริการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ต่างๆ (เช่น Dropbox, Google Drive และ One Drive) เพื่อจัดเก็บและเข้าถึง SimpleMind Pro ของคุณบนหลายแพลตฟอร์ม แอปตัวนี้จะแสดงแบบออฟไลน์พร้อมใช้งานสำหรับผู้ใช้ Windows และ macOS นอกจากนี้ยังสามารถส่งออกข้อมูลในรูปแบบ PDF, PNG, OPZM หรือ MML ได้อีกด้วย

SimpleMind Pro มี Mind Map Templates มากมาย ตั้งแต่แบบมาตรฐาน มุมมองนักวางแผนรายสัปดาห์และรายเดือน ผังงาน และแผนผังองค์กร คุณลักษณะที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของ Simpli Mind Pro คือความสามารถในการบันทึกผังความคิดเมื่อโหนดทั้งหมดเชื่อมโยงกับวันที่ต่างๆ เลือกโหนดบนผังความคิดของคุณ จากนั้นเลือกวันที่สำหรับงานหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง สำหรับแต่ละโหนดที่เชื่อมโยงในวันที่ คุณยังสามารถส่งออกผังความคิดของคุณโดยตรงไปยังปฏิทินที่มีอยู่หรือไปยังไฟล์ .ics ซึ่งสามารถนำเข้าไปยังแอปพลิเคชันปฏิทินใดก็ได้

5. Mindnode

MindNode มีให้สำหรับผู้ใช้ Apple เท่านั้น โดยมีทั้งรุ่นพื้นฐานที่ไม่มีโฆษณาและตัวเลือกที่มีคุณลักษณะครบถ้วนซึ่งเรียกว่า MindNode Plus (ซึ่งมีราคา 9.99 ดอลลาร์ต่อเดือน) ผู้ใช้สามารถสร้างและแก้ไขผังความคิดโดยใช้เวอร์ชันฟรี หรือ MindNode Plus ซึ่งผู้ใช้สามารถเพิ่มและย้ายโหนดภายในแผนที่ ซึ่งจัดเก็บไว้ใน iCloud และซิงค์โดยอัตโนมัติใน Mac, iPhones, iPads และ iPod Touches

การสมัครสมาชิกประมาณ 20 ดอลลาร์ต่อปี ให้คุณเข้าถึงคุณสมบัติแอพทั้งหมดบนแพลตฟอร์ม macOS, iOS และ iPadOS MindNode Plus ยังมอบคุณสมบัติต่างๆ เช่น การเข้าถึงโครงร่างตัวแก้ไข สติ๊กเกอร์ และตัวเลือกการออกแบบและสไตล์เพิ่มเติม เพิ่มข้อความไปยังโหนดในบันทึกย่อเพื่อติดตามแนวคิดโดยละเอียดที่ยาวเกินกว่าจะแสดงในชื่อ หรือเพิ่ม Visual Tag เพื่อจัดกลุ่มและกรองโหนดที่ติดแท็กอย่างรวดเร็ว เมื่อโหนดมีบันทึกย่อที่เกี่ยวข้องหรือแท็กภาพ ไอคอนขนาดเล็กจะแสดงทางด้านขวาของชื่อบันทึกย่อในผังความคิด

คุณสามารถส่งออกผังความคิดของ MindNode เป็นรูปแบบต่างๆ เช่น PDF, FreeMind, OpenDocument/ODT, PNG, Markdown, Text และ Tasks ส่งออกไปยังแอพเตือนความจำ ซึ่งเป็นแอพติดตามงานของ Apple สร้างรายการเตือนความจำ ซึ่งจะซิงค์สถานะของรายการเมื่อทำเสร็จแล้วใน MindNode หรือแอพเตือนความจำ อีกวิธีหนึ่งคุณสามารถส่งออกงานเพื่อใช้ในแอปพลิเคชันใดๆ ที่สนับสนุนรายการงาน รวมถึง OmniFocus, TaskPaper และ Things


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Mind Maps (frequently asked questions)

1. การทำ Mind Map คืออะไร?

เป็นเครื่องมือภาพที่ช่วยจัดระเบียบความคิดและข้อมูล เป็นวิธีการแสดงความคิดมาเป็นภาพที่ชัดเจน ผังความคิดถูกสร้างขึ้นโดยใช้โหนด (สาขา) และตัวเชื่อมต่อ (เส้น) โหนดแสดงหัวข้อหรือหมวดหมู่ในขณะที่ตัวเชื่อมต่อเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน คุณเริ่มต้นด้วยการระดมความคิดทุกอย่างที่คุณต้องการจดจำ จากนั้นคุณแบ่งแต่ละหัวข้อออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และสุดท้ายให้คุณเชื่อมต่อชิ้นส่วนเล็กๆ เหล่านี้กลับเข้าด้วยกันเป็นชิ้นที่ใหญ่ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

2. ทำไมต้องใช้ Mind Map?

มายแมพเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการแสดงภาพแนวคิดที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อต่างๆ เป็นวิธีที่สนุกในการเรียนรู้และทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณจดจ่อกับสิ่งที่คุณต้องทำ แทนที่จะฟุ้งซ่านไปจากงานที่ต้องทำ

3. ฉันจะเริ่มใช้ Mind Map ได้อย่างไร

ขั้นตอนแรกคือการตัดสินใจว่าคุณต้องการสร้างผังความคิดประเภทใด ซึ่งผังความคิด มี 3 ประเภท แต่ละประเภทก็มีลักษณะเฉพาะ
ผังความคิดแบบลำดับชั้น ใช้โครงสร้างแบบต้นไม้ที่หัวข้อแยกออกเป็นหมวดหมู่ย่อย ผังความคิดแบบนี้เหมาะสำหรับการจัดระเบียบรายการยาวๆ
ผังความคิดแบบเรเดียลไม่มีจุดศูนย์กลาง หัวข้อเรียงกันเป็นวงกลม ผังความคิดเรเดียลนี้เหมาะสำหรับการระบุเหตุการณ์ ข้อเท็จจริง หรือความสัมพันธ์
ผังความคิดของแบบเครือข่าย ใช้วงกลมเพื่อแสดงว่าหัวข้อเกี่ยวข้องกันอย่างไร ผังความคิดแบบนี้ มีประโยชน์ในการแสดงความสัมพันธ์ของเหตุและผล
จากนั้นก็ให้เลือกโปรแกรมซอฟต์แวร์เพื่อสร้างผังความคิดให้เหมาะกับคุณ

4. ฉันจะหา Mind Map ฟรีได้ที่ไหน

มีเว็ปไซต์มากมายที่คุณสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี หรือหากต้องการหาไอเดีย มายแมพสวยๆ ก็สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ที่ Pinterest เพียงค้นหา "Free Mind Map" รับรองว่าจะเจอ Mind Map สวยๆ พร้อมทั้ง Template เพียบเลย


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทางข้อความ Messenger

ด้วยความเจริญทางเทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตเราโดยตรง ทำให้ทักษะต่างๆโดยเฉพาะความรู้ในวิชาชีพ (Hard skills) นั้นสามารถเรียนรู้ผ่าน google ผ่าน Youtube ทำให้มีโอกาสเก่งได้เท่าเทียมกันง่ายขึ้น  แต่ Soft skills ที่เป็นทักษะด้านในนั้น ต้องเกิดจากการฝึกฝน ขัดเกลาตนเองอยู่บ่อยๆ ซึ่งทักษะนี้หาได้ยาก ถ้าใครที่มี Soft skills ย่อมสร้างความได้เปรียบผู้อื่นในโลกยุคปัจจุบันแน่นอน

ดังนั้น บทความนี้จึงเขียนเพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับ Soft skills ในทุกมิติ อาทิ ความแตกต่างจาก Hard skills อย่างไร และจะมีพัฒนา Interpersonal skills อย่างไร เป็นต้น

soft skills คืออะไร

Soft Skills คืออะไร?

Soft skills คือ ทักษะที่อยู่ด้านใน ค่อนข้างเป็นนามธรรมจับต้องได้ยาก ไม่ใช่ทักษะที่ทำให้งานประสบความสำเร็จ ลุล่วง หรือส่งผลดีต่องานโดยตรง แต่เป็นทักษะทางอ้อมที่มีช่วยส่งเสริมให้การทำงานในวิชาชีพนั้นราบรื่นขึ้น สะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น 

  • ทักษะการสื่อสาร (Ccommunication Skill)
  • ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)
  • การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (Relationship Skill)
  • ทักษะการทำงานเป็นทีม (Teamwork)

Soft skill แปลว่าอะไรในภาษาไทย?

 สำหรับคำว่า Soft skill ในภาษาไทยอาจจะไม่นิยม และไม่คุ้นเคยมากนัก ส่วนใหญ่นิยมเรียกคำทับศัพท์แทน ซึ่งสำนักงานราชบัณฑิตยสถานได้ใช้คำว่า จรณทักษะ (จะระนะ) โดยอธิบายว่า บุคคลที่มีจรณทักษะจะเป็นผู้ปฏิบัติงานได้ดี ส่วนบุคคลที่มีสมรรถนทักษะ (Hard skill) จะเป็นผู้ปฏิบัติงานได้เก่ง

Hard Skills คืออะไร?

คือทักษะด้านวิชาชีพ (Job skills) ทักษะที่ใช้ในการทำงานให้สำเร็จ ลุล่วง เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ ฝึกฝน อบรม สัมมนา ตามสายวิชาชีพนั้นๆ ซึ่งอาชีพเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ Hard Skills เช่น

สถาปนิก

ก็ต้องมีทักษะในการเขียนแบบ เพราะเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของสถาปนิกทุกคนที่ต้องเขียน อ่านแบบได้ ตั้งแต่ในขั้นตอนการวางแผนการก่อสร้าง สถาปนิกต้องเขียนแบบแผนผังชั้น ระดับความสูง ส่วนต่างๆ และรายละเอียด แบบต่างๆเหล่านี้ใช้เพื่อสื่อสารแนวคิด และข้อมูลให้กับลูกค้า ผู้รับเหมา และวิศวกร ได้เข้าใจตรงกัน

ทนายความ

ต้องมีทักษะที่เป็นพื้นฐานของอาชีพทนายความ อาทิ มีความรู้และเข้าใจกฎหมายในสายวิชาชีพนั้นๆ เช่น พื้นฐานของกฎหมายสัญญา กฎหมายทรัพย์สิน กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และด้านอื่นๆ  เช่น การล้มละลาย ทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการจ้างงาน และกฎหมายภาษีอากร เป็นต้น

ทันตแพทย์

ต้องมีทักษะทางทันตกรรมขั้นพื้นฐานในการทำหัตถการ เช่น อุดฟัน ครอบฟัน ขจัดหินปูน ฯลฯ รู้จักปัญหาช่องปาก รู้จักวิธีการใช้เครื่องมือทันตกรรมได้อย่างเหมาะสม เป็นต้น 


Hard Skills กับ Soft Skills ต่างกันอย่างไร

Hard Skills หมายถึง ความรู้และความสามารถพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับงาน หรือวิชาชีพโดยตรง ที่พนักงานต้องมีเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วน Soft skills เป็นทักษะ เป็นคุณสมบัติส่วนบุคคล ที่แตกต่างกันไป ซึ่งช่วยทำให้พนักงานมีความเป็นเลิศในตำแหน่งหน้าที่ของตนอย่างแท้จริง

Hard skills นั้น เราอาจใช้ค้นหาผู้สมัครว่ามีความสามารถ หรือมีความเก่งมากน้อยแค่ไหน โดยอ่านได้จากเอกสารสมัครงาน เรซูเม่ หรือหนังสือรับรองคุณวุฒิ วุฒิบัตรต่างๆ เป็นต้น

ในขณะที่ Soft skills นั้น หากต้องการรู้ว่าผู้สมัครคนใดมีคุณสมบัติด้าน Soft skills ที่ดีในตัวเอง จะต้องมีการนัดสัมภาษณ์ พูดคุย ดูบุคลิกก่อน ถึงจะพอทราบได้ว่าเป็นอย่างไร

หากสรุประหว่างความแตกต่างระหว่างทักษะทั้งสองอย่างนี้ที่สำคัญๆ คือวิธีการเรียนรู้ Hard skills ส่วนใหญ่มักจะได้มาจากการเรียน การสอน หรือได้มาจากการศึกษาอย่างเป็นทางการ ซึ่งมักจะมาพร้อมกับใบรับรองต่างๆ ส่วน Soft skills นั้นส่วนใหญ่เป็นเรื่องของจิตใจภายใน ขึ้นอยู่กับนิสัยของแต่ละบุคคลไป แต่ก็มีบางทักษะที่สามารถสอนกันได้ เช่น เรื่องที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพ เป็นต้น

ความสำคัญของ Soft skills

ด้วยความเจริญทางเทคโนโลยี และเครื่องมือสื่อสาร มีความก้าวหน้าทันสมัย การเข้าถึงและการใช้งานยิ่งนับวันค่อนข้างง่ายและมีความสะดวกมากขึ้น ดังนั้น การพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ หรือ Hard skills อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ยากเหมือนสมัยก่อน และอาจจะไม่ได้สร้างความได้เปรียบ หรือความแตกต่างแล้ว

ดังนั้น หากต้องการความก้าวหน้าในอาชีพการงาน นี่คือเหตุผลที่ควรพัฒนา Soft skills ได้แก่

1. มีโอกาสในการจ้างงานมากขึ้น

Soft skills ไม่ใช่ทักษะที่ทำให้การทำงานได้ดีเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยในเรื่องต่างๆ เช่น การสื่อสาร การทำงานร่วมกัน ความเป็นผู้นำ การจัดการทีมงาน และการบริการลูกค้า (Customer service) นายจ้างจึงให้ความสำคัญกับคุณลักษณะเหล่านี้มาก เพราะบ่งบอกว่าคุณจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

2. ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์เป็นกระบวนการที่กดดัน แต่ผู้สมัครที่แสดงออก ให้เห็นถึงทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มักจะได้เปรียบผู้สมัครท่านอื่น เพราะผู้สัมภาษณ์จะเฟ้นหาผู้สมัครที่มีความมั่นใจ พูดจาชัดเจน และสามารถโต้ตอบกับคนแปลกหน้าได้เป็นอย่างดี

3. ช่วยสร้างความสัมพันธ์

ช่วยให้คุณสามารถสื่อสารอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพกับเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า  และผู้บังคับบัญชา เมื่อสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ช่วยให้เป็นที่ชื่นชอบและน่าเชื่อถือมากยิ่งๆขึ้น

4. Soft Skills นำไปสู่ความก้าวหน้าในอาชีพ

ความก้าวหน้าในอาชีพต้องใช้ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นเสมือนบันไดให้ก้าวไปสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้จัดการ และผู้บริหารระดับสูง จึงมีโอกาสก้าวหน้ากว่าคนอื่น


Interpersonal skills

Interpersonal skills คืออะไร มีอะไรบ้าง?

Interpersonal skills คือ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นความสามารถในการโต้ตอบกับผู้อื่น ทักษะเหล่านี้ช่วยให้เราเข้าใจอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้อื่น เราใช้ทักษะเหล่านี้เพื่อสื่อสารกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยสนับสนุน Soft kills ได้เป็นอย่างดี ได้แก่

1. ความเห็นอกเห็นใจ

การเอาใจเขาามาใส่ใจเรา คือความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ในสิ่งที่พวกเขารู้สึก เมื่อเราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เราพยายามเข้าใจมุมมอง และความรู้สึกของพวกเขา เราสามารถทำได้โดยการตั้งใจฟัง มองสิ่งต่าง ๆ จากมุมมองของพวกเขา และพยายามจินตนาการว่าพวกเขากำลังคิดอะไรหรือรู้สึกอยู่

2. การตระหนักรู้ในตนเอง

การตระหนักรู้ในตนเอง หมายถึง การรู้ว่าตนเองเป็นใคร และเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง โดยต้องมีความตระหนักรู้ในตนเอง ถ้าหากต้องการประสบความสำเร็จในเรื่องสัมพันธภาพ การงาน การเรียนรู้ และชีวิตส่วนตัว ให้คิดถึงลักษณะบุคลิกภาพ ค่านิยม ความสนใจ เป้าหมาย และความฝันของตนเอง จากนั้นมองย้อนกลับไปในช่วงเวลาหนึ่งเพื่อสังเกตรูปแบบพฤติกรรม และปรับปรุงตนเองตลอดเวลา

3. การแก้ไขข้อขัดแย้ง

การแก้ไขข้อขัดแย้ง เป็นการหาวิธีแก้ไขปัญหาโดยไม่ทำร้ายความรู้สึกของใคร ในสถานการณ์ความขัดแย้ง ทั้งสองฝ่ายอาจไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่ควรเกิดขึ้น แต่ทุกคนต้องการหลีกเลี่ยงคำพูดแ ละการกระทำที่ทำร้ายจิตใจของกันและกัน การแก้ไขข้อขัดแย้งนั้นมีช่วยให้เราพบวิธีที่ทำให้ทุกคนมีความสุขได้

4. มีความฉลาดทางสังคม

ความฉลาดทางสังคม คือ ความสามารถในการอ่านตัวชี้นำทางสังคมและตีความได้อย่างถูกต้อง ผู้ที่มีสติปัญญาทางสังคมสูง จะสามารถรู้จักการแสดงออกทางสีหน้า น้ำเสียง ภาษากาย และท่าทาง ของผู้อื่นได้  บอกได้ว่าบางสิ่งจริงหรือเท็จ ถูกหรือผิด เป็นมิตรหรือไม่เป็นมิตร น่าเชื่อถือหรือไม่น่าไว้วางใจ  สามารถรับรู้ได้ว่าพฤติกรรมต่าง และสามารถหาวิธีตอบสนองอย่างเหมาะสมกับคนประเภทนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี

5. ทักษะความเป็นผู้นำ

ทักษะการเป็นผู้นำ เกี่ยวข้องกับการดูแลกลุ่มคน และการกระตุ้นให้พวกเขาลงมือทำเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ผู้นำตั้งความคาดหวังที่ชัดเจนและทำให้แน่ใจว่าผู้ตามของเขาเข้าใจตรงกัน   ผู้นำจะสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความมั่นใจ และความไว้วางใจกับผู้ตาม  

6. ทักษะการสื่อสาร

ทักษะการสื่อสาร เป็นเครื่องมือที่เราใช้แสดงออกอย่างชัดเจน และมีประสิทธิภาพ ทักษะการสื่อสารที่ดีทำให้ชัดเจน ในทุกๆเรื่อง และเข้าใจตรงกันเป็นอย่างดี 


Hard skills และ Soft skill มีอะไรบ้าง

Soft skill ตัวอย่าง

  • Lifelong Learning Skills
  • Essential Life Skills
  • Critical Thinking
  • Growth Mindset
  • Positive Attitude
  • Life-Long Learning

Hard skills ตัวอย่าง

  • Technical skills
  • Accounting Skills
  • Design Skills
  • Language Skills
  • Project Management Skills
  • Writing Skills

กิจกรรมพัฒนา Soft skills ให้กับตนเอง 10 ข้อ

นี่คือเคล็ดลับเกี่ยวกับวิธีพัฒนาทักษะให้กับตนเอง :

1. ฝึกฝนบ่อยๆทำให้เก่ง

เนื่องจาก Soft skill เป็นทักษะที่อยู่ด้านใน ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม จึงจำเป็นต้องคอยฝึกฝนอยู่บ่อยๆ เพื่อที่จะทำให้เก่งขึ้นกว่าเดิม 

นี่คือตัวอย่างความเป็นจริงในทุกๆ สิ่ง เมื่อเล่นกีฬา ไม่ได้มีใครคาดหวังว่าจะชนะในทันทีที่เริ่มต้นเล่นกีฬานั้นๆ ซึ่งจะต้องฝึกฝนจนกว่าจะเชี่ยวชาญ ในทำนองเดียวกัน เมื่อต้องการพัฒนา soft skills ก็จำเป็นต้องฝึกฝนซ้ำๆทำในสิ่งที่อาจจะยังไม่คุ้นเคยในตอนแรกเสียก่อน ทำไปเรื่อยๆ และพยายามแก้ปัญหาที่พบเจอในชีวิตประจำวัน ก็จะยิ่งเก่งขึ้นเรื่อยๆ หากมีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ

2. ระวังจุดแข็งและจุดอ่อน

ในการพัฒนา soft skills จำเป็นต้องระบุจุดแข็ง และจุดอ่อนของตนเองให้ได้เสียก่อน จากนั้น ก็ต้องพยายามปรับปรุงจุดอ่อน และพัฒนาจุดแข็งอย่างต่อเนื่อง   

3. โฟกัสไปที่ทักษะทีละอย่างๆ

ในการพัฒนาทักษะ soft skills นั้น ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะจะต้องอาศัยเวลา ดังนั้น จึงแนะนำให้มุ่งเน้นฝึกฝนไปทีละทักษะจะดีกว่า การตั้งเป้าหมาย และทำสำเร็จตามเป้าหมายย่อยๆทีละเป้าหมาย จะทำให้มีกำลังใจในการฝึกฝน และพัฒนาตนเอง

4. อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น

การเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น คือการยอมให้หัวขโมยๆความสุข ไปจากตัวเราเอง ดังนั้นให้หยุดเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ไม่มีประโยชน์อะไร ที่จะเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ทุกคนมีจุดแข็ง และจุดอ่อนของตัวเอง ทุกคนมีลักษณะบุคลิกภาพที่เป็นเอกลักษณ์ในแบบฉบับของตนเอง การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นจะทำให้คุณเสียสมาธิ และหมดกำลังใจ ไปจากการพัฒนาตนเอง

5. รับผิดชอบต่อการพัฒนาของตัวคุณเอง

โปดจำไว้ว่า "คุณต้องรับผิดชอบต่อการพัฒนาของคุณเอง" ไม่มีใครสามารถทำให้คุณได้ คุณต้องรับผิดชอบต่อการเติบโตของคุณเอง คุณต้องยอมรับว่าคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในชั่วข้ามคืน แต่คุณสามารถปรับปรุงตนเองได้ตลอดเวลา

ขอให้จำไว้ว่า คุณสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ คุณสามารถพัฒนา soft skills ของคุณให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้

6. ฝึกการสื่อสารระหว่างบุคคล

การสื่อสารเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต หากคุณไม่มีทักษะด้านการสื่อสาร คุณจะไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การเรียนรู้วิธีการสื่อสาร จึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่งในการพัฒนาทักษะด้านอารมณ์ของคุณด้วย

7. เรียนรู้วิธีแก้ปัญหา

ปัญหาต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของแต่ละคน นั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ เกิดขึ้นในทุกๆ ด้านของชีวิต ดังนั้น การเรียนรู้วิธีแก้ปัญหา จึงเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญของการพัฒนา soft skills ของคุณ

8. สร้างมิตรภาพกับผู้ที่สามารถช่วยคุณได้

การสร้างความสัมพันธ์เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของ soft skills เมื่อคุณติดต่อสื่อสารกับผู้คน คุณควรมุ่งเน้นที่การพัฒนาความสัมพันธ์ แทนที่จะพยายามสร้างแค่ความประทับใจให้พวกเขา ซึ่งหมายถึงการมุ่งเน้นช่วยเหลือผู้อื่นด้วยใจจริง แบบธรรมชาติ

9. ระวังอารมณ์ของคุณ

ความตระหนักทางอารมณ์เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนา soft skills การรู้เท่าทันอารมณ์จะทำให้คุณเข้าใจความรู้สึก และมีการตอบสนองได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ยังทำให้คุณเป็นคนเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากยิ่งขึ้นด้วย

10. ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง

การมีเวลาอยู่กับตนเอง คิดใคร่ครวญ ทบทวนสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับตนเอง เป็นอีกหนึ่งประการของการพัฒนา soft skills  นอกจากนี้จงใช้เวลาที่มีค่า ทำในสิ่งที่คุณชื่นชอบ ทำในสิ่งที่ดีให้กับตนเอง เช่น 

ใช้เวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หยุดพักจากเทคโนโลยี นอนหลับให้เพียงพอ เป็นต้น


คุณลักษณะ Soft skills ที่ช่วยเสริมบุคลิกภาพให้โดดเด่น

soft skills เป็นบุคลิกภาพที่ทำให้เราเป็นมนุษย์โดยแท้จริง ซึ่งรวมถึงสิ่งต่างๆ เช่น การเอาใจใส่ ความเห็นอกเห็นใจ ความซื่อสัตย์สุจริต ความจริงใจ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความอดทน ความพากเพียร ความตระหนักรู้ในตนเอง และความเป็นผู้นำ เป็นต้น

soft skills เหล่านี้มักถูกมองข้ามในสังคมของเรา แต่จำเป็นต่อความสำเร็จในชีวิตเป็นอย่างมาก และต่อไปนี้คือ 5 ทักษะ หรือคุณลักษณะที่ทุกคนควรพัฒนาเป็นอย่างยิ่ง

1. ความเข้าอกเข้าใจ

การเอาใจใส่ต่อผู้อื่น เป็นหนึ่งในทักษะด้านอารมณ์ที่มีคุณค่ามากที่สุด หากคุณไม่เข้าใจความรู้สึก อารมณ์ และความคิดของผู้อื่น คุณจะไม่สามารถเชื่อมต่อกับลูกค้าและพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป็นไปไม่ได้อย่างยิ่ง ที่การเป็นผู้นำ หรือการทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้น ที่ไม่เข้าใจความต้องการของคนรอบข้าง

ดังนั้น ก้าวแรกของการพัฒนา soft skills คือการเรียนรู้ความเข้าอกเข้าใจผุ้อื่น

2. ความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์สุจริต คือความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี และมีความรับผิดชอบ คนจริงใจไว้ใจได้ และคนที่น่าเชื่อถือ น่าเคารพนับถือ จะทำให้ผู้อื่นไว้วางใจ การติดต่อสื่อสาร หรือการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ก็จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย

3. ความอ่อนน้อมถ่อมตน

ความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเย่อหยิ่ง คนหยิ่งทะนงในตัวเอง มักเป็นคนที่จะไม่ยอมรับคำวิจารณ์ใดๆจากใคร แต่ตรงกันข้ามคนอ่อนน้อมถ่อมตน เปิดผู้ที่เปิดรับคำติชม และคำแนะนำจากผู้อื่น ดังนั้น จึงมีโอกาสพัฒนาตนเองมากกว่า 

4. ความอดทน

ความอดทน คือ ความเต็มใจที่จะรอคอยเวลา คือความสามารถในการอดทนต่อความขัดข้องของใจ ต่อความไม่รู้สึกพึงพอใจ ความอดทนจึงกลายเป็นคุณสมบัติที่ดีของผู้ที่มี soft skills ที่โดดเด่น 


ประโยชน์ของ Soft skills 

Soft skills เป็นทักษะไม่ใช่แค่ดีเพียงอย่างเดียว แต่ยังทำให้มีความเป็นมืออาชีพที่ประสบความสำเร็จได้อีกด้วย นี่คือประโยชน์ต่างๆ ของการมี Soft skills

1.ช่วยให้คุณสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การสื่อสารเป็นกุญแจสำคัญในการทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จ  ไม่ว่าคุณจะกำลังพูดคุยกับลูกค้า เพื่อนร่วมงาน หรือลูกค้า ความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพนั้นvมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการประสบความสำเร็จในงานของคุณ

2.ช่วยคุณสร้างความสัมพันธ์อันดี

การสร้างความสัมพันธ์เป็นส่วนสำคัญของการทำผลงานในอาชีพการงานของคุณ การมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดีทำให้สร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่คุณพยายามเจรจาให้ลูกค้าต้องซื้อของ หรือตอนที่ต้องการได้งานใหม่

3.ช่วยจัดการความขัดแย้ง

ความขัดแย้งเกิดขึ้นในที่ทำงานทุกแห่ง ความสามารถในการจัดการความขัดแย้งอย่างมืออาชีพ ถือเป็นทักษะที่มีค่ามาก เมื่อคุณสามารถจัดการกับความขัดแย้งได้ดี คุณจะพบว่าตัวเองได้เลื่อนตำแหน่งเร็วขึ้น  และมีโอกาสร้างรายได้มากขึ้นอีกด้วย

4.สนับสนุนความเป็นผู้นำ

ความเป็นผู้นำมีความสำคัญต่อความสำเร็จในอาชีพการงาน  ผู้คนมองหาผู้นำเพื่อขอคำแนะนำ และทิศทางที่ชัดเจน หากคุณเป็นผู้นำ คุณจะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น และจะมีผู้ติดตามเป็นจำนวนที่มากขึ้น

5.ช่วยให้คุณมีประสิทธิผลมากขึ้น

การมีประสิทธิผลเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จในอาชีพการงานของคุณ แต่การมีประสิทธิภาพก็เช่นกัน ทักษะการสื่อสารที่ดีช่วยให้คุณมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ประหยัดได้ทั้งเวลา และก็พลังงาน อีกด้วย

6.ช่วยให้ประสบความสำเร็จในชีวิต

คนที่ประสบความสำเร็จมักจะมีความสุข และมองโลกในแง่ดี การมองในแง่บวก เป็นนิสัยไปตลอดชีวิต  หากคุณเป็นคนร่าเริงและมองโลกในแง่ดี คุณจะดึงดูดผู้คนที่มีความคิดเหมือนกันเข้ามารายรอบตัวคุณเช่นกัน

7.ช่วยให้บรรลุเป้าหมายส่วนตัว

เป้าหมายส่วนบุคคลมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายอย่างมืออาชีพ ทักษะการสื่อสารทำให้คุณสามารถกำหนดเป้าหมายส่วนบุคคล และบรรลุเป้าหมายได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการลดน้ำหนัก คุณอาจตัดสินใจเข้ายิมหรือกินอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น


service mind

Soft skills ในงานบริการมีอะไรบ้าง

Soft skills มีความสำคัญต่อธุรกิจภาคบริการเป็นอย่างมาก ซึ่งได้แก่การสื่อสาร ความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การแก้ไขข้อขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และการจัดการตนเอง

ในอุตสาหกรรมการบริการ ทักษะเหล่านี้มีความสำคัญเป็นพิเศษ หากคุณไม่มีพวกเขา คุณจะไม่ประสบความสำเร็จในสาขาที่คุณเลือก

ต่อไปนี้คือ 8 อันดับแรกของ Soft skills ที่ควรมีของพนักงานในธุรกิจภาคบริการ

1.ทักษะการสื่อสาร (Communication)

ทักษะการสื่อสารที่ดี เป็นสิ่งจำเป็นในสถานที่ทำงาน ทักษะนี้ช่วยให้ถ่ายทอดข้อมูลและความคิดไปยังผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.ทักษะความเป็นผู้นำ (Leadership)

ทักษะนี้เกี่ยวข้องกับการควบคุมสถานการณ์และนำทางผู้อื่นไปสู่เป้าหมายร่วมกัน ความเป็นผู้นำเป็นทักษะที่ขาดไม่ได้ในทุกองค์กร

3.ทักษะการทำงานเป็นทีม (Teamwork)

การทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ร่วมกัน เป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสำเร็จ การทำงานเป็นทีมช่วยให้พนักงานพัฒนาความสัมพันธ์ และความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

4.ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving)

ปัญหาเฉพาะหน้ามักเกิดขึ้นในธุรกิจภาคบริการอยู่บ่อยๆ การแก้ปัญหา หมายถึง การระบุปัญหาและพัฒนาแนวทางแก้ไข เพื่อเอาชนะอุปสรรคได้เป็นอย่างดี จึงเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับพนักงานในภาคธุรกิจบริการ

5.ทักษะการตัดสินใจ (Decision making)

การตัดสินใจเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต จำเป็นต้องมีการตัดสินใจเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยเฉพาะธุรกิจภาคบริการ การตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อความพึงพอใจ และไม่พึงพอใจของลูกค้าเป็นอย่างมาก ดังนั้น พนักงานในภาาคธุรกิจนี้จึงจำเป็นต้องมีทักษะในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง

6.ทักษะแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Conflict resolution)

การแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างเพื่อนร่วมงาน และลูกค้า มีความสำคัญต่อบรรยากาศในการทำงาน หรือการรับบริการ ดังนั้นการแก้ไขข้อขัดแย้งที่ดีจะสร้างความไว้วางใจ และสร้างขวัญกำลังใจที่ดีต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

7.ทักษะการเจรจาต่อรอง (Negotiable)

การเจรจาต่อรองเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญของธุรกิจบริการ ผู้ที่มีทักษะการเจรจาต่อรองเป็นอย่างดี จะช่วยให้บรรลุข้อเจรจาตกลงได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง

8.ทักษะการจัดการตนเอง (Self-control)

การจัดการตัวเองเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุดในการทำงาน การจัดการตนเองหมายถึงการจัดการอารมณ์และพฤติกรรมของตัวคุณเอง เพราะถ้าหากทุกคนสามารถบริหารจัดการกับอารมณ์ตนเองได้ ก็จะไม่ส่งผลกระทบเสียหายต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง


Soft skill ใน resume ควรมีอะไรบ้าง

การระบุทักษะในประวัติย่อ (Resme) ของคุณเป็นสิ่งสำคัญ ควรแน่ใจว่าได้ระบุ Soft skills ที่เหมาะสมลงไปในใบสมัครของคุณ ช่น ทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหา เป็นต้น

นอกจากนี้ประสบการณ์ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะคุณไม่สามารถพูดว่า "ฉันเป็นผู้นำที่ดี" โดยปราศจากหลักฐานสนับสนุนคำกล่าวอ้างนี้ได้

ต่อไปนี้คือ 3 วิธีในการเพิ่ม Soft skills ลองในประวัติย่อของคุณ เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน

1. ปรับแต่ง Soft skills ให้เหมาะสมกับลักษณะงานหรือองค์กร

ยิ่งทักษะของคุณมีความเจาะจงมากเท่าไหร่ในประวัติย่อ นายจ้างก็จะยิ่งเข้าใจมันได้ง่ายขึ้นเท่านั้น  เพราะการระบุทักษะที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน หรือธุรกิจที่คุณกำลังสมัครงาน นั้นจะไม่ช่วยให้คุณได้รับการว่าจ้างอย่างแน่นอน

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังสมัครงานที่ร้านอาหาร คุณอาจไม่จำเป็นต้องมีทักษะในการเจรจาต่อรอง และการคิดสร้างสรรค์ เท่ากับทักษะการสื่อสาร ทักษะการมีใจบริการ และทักษะการทำงานเป็นทีม อย่างนี้เป็นต้น

คุณจำเป็นต้องปรับแต่งทักษะด้าน Soft skills ให้เข้ากับลักษณะงานเฉพาะ โดยนำรายละเอียดงานมาเป็นแนวทาง อ่านรายละเอียดงานและใส่ทักษะที่จำเป็นแต่ละข้อลงไปในประวัติย่อของคุณ ยกตัวอย่าง เช่น

สมมติว่าคุณกำลังสมัครงานใน ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย คุณสมบัติรวมถึง:

  • วุฒิปริญญาตรี สาขาธุรกิจ การตลาด นิเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
  • มีประสบการณ์ในการขาย 5 ปี
  • ทักษะการสื่อสาร พูดและเขียนได้ในระดับดี
  • สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
  • มีภาวะผู้นำ
  • มีประสบการณ์ในการตั้งเป้าการขาย

คุณก็แค่ระบุทักษะ 4 ด้าน จากรายละเอียดงาน ที่จะเป็นประโยชน์ต่องานลงไป ตามตัวอย่างด้านล่างนี้

  • Oral and written communication skills
  • Teamwork
  • Leadership
  • Goal-oriented

2. ระบุทักษะประสบการณ์ในอดีตเพื่อความได้เปรียบ

 นอกจากจะระบุ Soft skills ที่เกี่ยวข้องกับงานหรือหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรงแล้ว คุณอาจจะระบุทักษะอื่นๆที่เป็นระโยชน์พร้อมยกตัวอย่างจากประสบการณ์สั้นๆ ให้เห็นด้วย เช่น

หากคุณกำลังสมัครงานที่ บริษัทเอเจนซี่โฆษณาแห่งหนึ่ง ในตำแหน่ง Creatvie Director จะระบุ Soft skills list ได้ดังนี้

  • Creativity
  • Leadership
  • Oral communication
  • Project management

 สิ่งแรกคือระบุทักษะที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง ต่อจากนั้นให้ระบุทักษะสำรอง ที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ที่ทำให้ประสบความสำเร็จในอดีต เช่น หากคุณต้องการแสดงทักษะด้านการจัดการโครงการ (Project management) คุณสามารถเขียนในลักษณะนี้ คือ

"บริหารทีม 10 คนในการสร้างวิดีโอ YouTube ให้กับลูกค้าซึ่งทำให้รายได้ของลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่า $50,00 ภายในหนึ่งเดือน"

3. ระบุทักษะที่ใช้กับตำแหน่งงานอื่นๆได้แม้เปลี่ยนสายงาน

ทักษะที่แม้ว่าคุณจะเลือกเส้นทางอาชีพใหม่ แต่มันยังคงใช้ได้ดี เพราะ Soft skills  ประเภทนี้ไม่ได้เฉพาะเจาะจงในสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่ยังมีประโยชน์สำหรับตำแหน่งงานใหม่ๆด้วย เช่น

สมมติว่าคุณลาออกจากงานในตำแหน่งนักข่าว และไปสมัครงานใหม่ ในตำแหน่งฝ่ายประชาสัมพันธ์ ซึ่งงานทั้งสองตำแหน่งนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับทักษะการสื่อสาร

ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถเพิ่มทักษะ Soft skills ที่เกี่ยวข้องที่คุณได้เรียนรู้ในฐานะนักข่าวลงในเรซูเม่ใหม่ของคุณได้ เพื่อแสดงว่าทักษะในตำแหน่งงานเก่า มีประโยชน์ต่อหน้าที่งานในตำแหน่งานใหม่ เช่น

  • Communication skills
  • Presentation skills
  • Interpersonal skills
  • Creativity

นี่คือ Soft skills ทั้งหมดที่คุณสามารถกรอกในประวัติย่อ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณสามารถรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี


Soft skills training ที่นิยม มีหลักสูตรอะไรบ้าง

ทักษะ Future skill ที่นิยมจัดหลักสูตรอบรม เพื่อพัฒนาทักษะให้กับพนักงานนั้น มีดังนี้

  • Growth Mindset
  • Business Mindset
  • Time management
  • Communication
  • Adaptability
  • Problem-solving
  • Teamwork skills
  • Creativity
  • Leadership
  • Interpersonal skills
  • Work ethic
  • Critical thinking
  • Analytical Thinking and Decision
  • Communication & Teamwork

สรุป

จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนั้น แม้เทคโนโลยีจะก้าวหน้ามากขึ้นเท่าใด Soft skills ยิ่งเป็นทักษะที่องค์กรต่างๆ ต้องการ ดังจะเห็นจากเวลารับสมัครงานในหลายๆองค์กร นอกจากจะมีแบบทดสอบด้านวิชาชีพ แบบทดสอบที่เกี่ยวข้องในงานโดยตรงแล้ว ยังจำเป็นต้องมีแบบทดสอบ Soft skills ให้ผู้สมัครทำด้วย เพื่อเป็นการคัดกรองบุคคลที่มีนิสัยดีๆ มีคุณลักษณะที่เหมาะสมเข้ามาร่วมงานกับองค์กร

แต่ถ้าพัฒนาตนเองไปจนเข้าใจโลกด้านในของตนเองเป็นอย่างดี เราจะเข้าใจว่าการพัฒนาทักษะต่างๆของตนเองนั้น ไม่ใช่แค่เพื่อตนเอง แต่เป็นการเติมเต็ม หรือช่วยแก้ไขปัญหาให้กับผู้อื่น ซึ่งอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ เก่งไปทำไม เก่งเพื่อใครกันแน่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทางข้อความ Messenger

ทักษะมีไว้สร้างประโยชน์ให้ผู้อื่น

ทักษะหรือความเก่งที่เรามีนั้น หาใช่มีเพื่อประโยชน์ของตนเองไม่ 

แต่แท้จริงแล้ว มีไว้เพื่อแก้ปัญหา หรือสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่น

มนุษย์มี Pain Point ต้องอาศัยทักษะของผู้อื่นแก้ไข

มนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาไม่สมบูรณ์แบบ ยังมีช่องโหว่ และปัญหาต่างๆมากมาย ที่เรียกว่า pain point 

ทุกครั้งที่เกิดปัญหาขึ้น เราต้องไปอาศัยทักษะของผู้อื่น เพื่อแก้ปัญหาให้เรา

เช่น เมื่อร่างกายเจ็บป่วย ก็ต้องอาศัยทักษะและความสามารถของหมอ 

เมื่อหิวต้องการทานข้าว ก็ต้องอาศัยทักษะการปลูกข้าวของชาวนาเป็นต้น

มนุษย์มี Pain Point ต้องอาศัยทักษะของผู้อื่นแก้ไข

ดังนั้น การพัฒนาทักษะ จึงเป็นไปเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้อื่น

ซึ่งผลประโยชน์ที่ย้อนกลับมาสู่ตน เป็นเพียง “ผลพลอยได้” เท่านั้นเอง

อุปมา คนเราก็คล้อยจิ๊กซอว์ที่มีความบกพร่องที่ต้องการทักษะของผู้อื่นเข้ามาเติมเต็มให้กันและกัน

ทุกข์ภายนอกแก้ไขด้วยทักษะผู้อื่น ทุกข์ถาวรพ้นได้ด้วยตนเอง

หากกล่าวโดยรวมทุกข์ภายนอก แก้ไขได้ด้วยทักษะของผู้อื่น

แต่การแก้ไขให้พ้นทุกข์ถาวร แก้ไขได้ด้วยตัวเราเองเท่านั้น

จงใช้ทักษะที่มีสร้างคุณค่าเพื่อประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านเถิด

Copyright © 2019. ardhann.com
Top crossmenu