หลักสูตรผู้นำกระบวนทัศน์ใหม่
คิดสู่ใจ ไหลเป็นปัญญา
ผู้นำ คือผู้กำหนดทิศทางขององค์กร ผู้นำ เป็นอย่างไร รูปแบบ วิธีการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร ก็เป็นตามสไตล์ของผู้นำ
คุณลักษณะ และ บทบาท หน้าที่ของ ผู้นำ มีความสำคัญอันดับต้นๆของการพัฒนาองค์กร (Organization Development) แต่องค์กรส่วนใหญ่ บทบาทของผู้นำนั้นได้มาพร้อมกับตำแหน่งงาน แม้จะเก่งงาน แต่ก็ไม่ได้แปลว่าใครๆก็เป็นผู้นำที่ดีได้ หากปราศจากการเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำ
พัฒนา ตำแหน่ง ผู้นำ ด่วน !
ภาวะผู้นำ
จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร คือต้องพัฒนาผู้นำ
ผู้นำมี Ego สูง ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
ไม่สื่อสาร ไม่รับฟังความคิดเห็นจากทีมงาน
ไม่กำหนดทิศทางการทำงานให้ชัดเจน
ไม่ตัดสินใจ
ส่งผลต่อองค์กร
ผลกระทบต่อองค์กรมากมาย ล้วนมีจุดเริ่มต้นจากผู้นำ
องค์กรไม่ไปไหน ย่ำอยู่กับที่
ทีมไม่เวิร์ค คนดี คนเก่ง ลาออก
ประสิทธิภาพการทำงานลดลง เน้นแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
คนทำงานไม่มีความสุข
หลักสูตรผู้นำกระบวนทัศน์ใหม่ คิดสู่ใจ ไหลเป็นปัญญา (Transformational Leadership)
หลักสูตรที่พัฒนาผู้นำ ให้รู้จักวิธีนำตนเอง ด้วยการสอดประสานศาสตร์ตะวันตกและตะวันออก ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ทำให้ผู้นำได้รู้จักตัวเอง และเข้าใจผู้อื่นอย่างแท้จริง จึงเปลี่ยนแปลงตนเองสู่พฤติกรรมใหม่ที่พึงประสงค์
“หากรู้จักตนเอง และเข้าใจผู้อื่นดีพอ โลกนี้ย่อมไม่มีสงคราม”
ท่านติช นัท ฮันห์
เป็นหลักสูตรที่ผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้นำ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวว่า “เกิดอะไรขึ้นกับหัวหน้าฉัน ทำไมหัวหน้าถึงเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นชั่วข้ามคืน”
ความประทับใจ
ของผู้เรียน
คำถามเกี่ยวกับหลักสูตรผู้นำกระบวนทัศน์ใหม่
เหตุใดถึงต้องเลือก "หลักสูตรพัฒนาผู้นำกระบวนทัศน์ใหม่ คิดสู่ใจไหลเป็นปัญญา"?
อาจารย์ผู้สอนมืออาชีพ : ผู้สอนของเรามีประสบการณ์พัฒนาผู้บริหารระดับสูงให้กับองค์กรต่างๆมาร่วม 20 ปี และมีประสบการณ์บริหารองค์กรชั้นนำมาก่อน จึงมีความเข้าใจในการพัฒนาแนวคิด ภาวะผู้นำ สมัยใหม่ เป็นอย่างดี
เป็นหลักสูตร Tailor made : ที่ออกแบบเฉพาะ ปรับให้เหมาะสมกับกลุ่มของผู้เรียน และลักษณะขององค์กร หรือธุรกิจ ที่ต้องการพัฒนาแนวคิด ในการเป็น ผู้นำ เป็นสำคัญ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้สอนและพัฒนาต่อเนื่องกว่า 15 ปี
เป็นการเรียนรู้แบบปัญญาปฏิบัติ (Action Learning) : ที่ปราศจากทฤษฎี โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้เรียนรู้ และตกผลึกความรู้จากกิจกรรรมที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี
หลักสูตรพัฒนาผู้นำเหมาะกับใคร?
หลักสูตรพัฒนาผู้นำนี้เหมาะกับ หัวหน้างาน ผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารระดับสูง และเจ้าของกิจการ ที่ต้องการพัฒนาทัศนคติของการเป็น ผู้นำ
ผลลัพธ์ของผู้เรียนหลังเรียนหลักสูตรนี้?
- ผู้เรียนจะเข้าใจตัวเองและเข้าใจผู้อื่น แตกต่างจากมุมมองเดิมๆ
- ผู้เรียนจะมีทักษะการสื่อสารที่ดีขึ้น
- ผู้เรียนจะทำงานเป็นทีม และเข้าใจกันมากขึ้น
- ให้ความร่วมมือและบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
- บรรยากาศการทำงานในองค์กรดีขึ้น
รูปแบบการเรียนของหลักสูตรผู้นำกระบวนทัศน์ใหม่
บรรยากาศการเรียนรู้แบบผ่อนคลาย สบายๆ 2 วัน 1 คืน เน้นการเรียนรู้แบบปัญญาปฏิบัติ (Action learning) ที่ผู้เรียนตกผลึกชุดความรู้ร่วมกัน
จำกัดจำนวนผู้เรียนแต่ละรุ่นกี่ท่าน
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละรุ่นจะอยู่ที่ 20 ท่าน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนรู้
Transform Your Leadership Skills
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ :
หลักสูตร “ผู้นำกระบวนทัศน์ใหม่ : คิดลงสู่ใจไหลเป็นปัญญา” ได้บูรณาการและพัฒนาต่อยอดจากชุดความรู้ “Learn how to learn” ที่ผู้สอนได้มีโอกาสพัฒนาบุคลากรร่วมกับองค์กรต่างๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงโลกด้านในของบุคลากร สู่การเปลี่ยนแปลงทั้งแผงย่างยั่งยืน ตามทิศทางของวิทยาศาสตร์กระบวนทัศน์ใหม่ ที่เคลื่อนย้ายกระบวนทัศน์จากการมององค์กรแบบแยกส่วน มาสู่การเชื่อมโยงแบบองค์รวม (Holistic) แสวงหาการเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข พร้อมๆกับได้รับความสำเร็จจากการทำงาน อันทำให้บุคลากรในองค์กรมีความสัมพันธ์เกื้อกูลซึ่งกันและกัน สร้างสานสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ด้วยวิถีการจัดการความรู้ในกระบวนทัศน์ใหม่ โดยมององค์กรเป็นสิ่งมีชีวิตและเครือข่ายของสิ่งมีชีวิต มากกว่ามองว่าเป็นเครื่องจักรและชิ้นส่วนของเครื่องจักร
เน้นให้ความสำคัญของการทำงานร่วมกันอย่างผ่อนคลายไม่เคร่งเครียด โดยฝึกฝนให้ผู้นำมีกระบวนทัศน์ใหม่ในการเรียนรู้อย่างเปิดรับ (Open Living System) สื่อสารอย่างกรุณา และรับฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) มีการสืบค้นร่วมกัน ซึ่งเป็นหัวใจหลักสำคัญของการพูดคุยแบบสุนทรียสนทนา (Dialogue) อันจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารระหว่างกัน เพิ่มความร่วมมือไว้วางใจ เอื้ออาทรทุกฝ่าย และดำเนินชีวิตได้อย่างสอดคล้องกับเงื่อนไขการทำงานหรือสิ่งแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวตลอดเวลาในปัจจุบัน
โดยผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้ผ่านฐานการเรียนรู้ทั้ง 3 ฐาน คือ ฐานกาย ฐานใจ ฐานความคิด เพื่อค้นพบศักยภาพแห่งการบรรสานความแตกต่างและหลากหลาย อันช่วยก่อเกิดความรู้ใหม่จนกลายเป็นผู้นำกระบวนทัศน์ใหม่ ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการผลิตผลงานให้บรรลุร่วมกันในองค์กร
รูปแบบการอบรมนั้นจะเน้นเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้สืบค้นถึงศักยภาพการเรียนรู้ของตนเองและเพื่อนร่วมงาน ซึ่งจะแตกต่างไปจากการสัมมนาทั่วๆไป เพราะความรู้เกิดจากการปฏิบัติจริง (Practiced-base Knowledge) ผ่านกระบวนการต่างๆที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความรู้ของผู้นำในมุมมองใหม่
รูปแบบการเรียนรู้ :
ผู้เข้าอบรมจะมีโอกาสสืบค้นถึงศักยภาพการเรียนรู้ของตนเอง และของเพื่อนร่วมงาน ซึ่งแตกต่างไปจากการอบรมสัมมนาที่มีการบรรยายเพียงอย่างเดียว เพราะความรู้เกิดจากการปฏิบัติจริง ผ่านกระบวนการต่างๆที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มความรู้เชิงประสบการณ์ที่สดใหม่ เป็นปัจจุบัน มีชีวิตมีชีวา ในบรรยากาศของธรรมชาติที่ผ่อนคลาย
องค์ประกอบการเรียนรู้ :
1. สุนทรียสนทนา (Dialogue)
สุนทรียสนทนาเป็นเครื่องมือสำคัญของทีมปีเตอร์เซงเก้แห่งเอ็มไอทีที่จะนำเอามาใช้เป็นเครื่องมือหลักของการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) อันเป็นหนึ่งในห้าปัจจัยที่ทำให้การจัดตั้งองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้สุนทรียสนทนายังช่วยเผย Mental Model ที่แฝงซ่อนเร้นอยู่ ทำให้เราได้เห็นโลกด้านในของตัวเอง และสามารถเข้าไปจัดการกับมันได้ โดยไม่ตกเป็นทาส อันจะนำไปสู่การเขียนโลกใบใหม่
สุนทรียสนทนา ได้ให้มิติแห่งการสื่อสารร่วมกันอย่างถูกต้อง โดยสามารถจะเรียนรู้ที่แขวนการตัดสินคน ทำให้เรียนรู้ที่จะฟังได้อย่างลึกซึ้ง ผู้เข้าร่วมจะได้สัมผัสกับการก่อเกิดแห่งนวัตกรรมทางความคิด วิธีการ การหาคำตอบให้กับปัญหาต่างๆ อันจะผุดพรายขึ้นอย่างอุดมสมบูรณ์ในสภาวะเช่นนี้ในวงสนทนา
2. ผู้นำสี่ทิศ
เป็นกิจกรรมค้นหาตนเองที่ประยุกต์มาจากการบริหารงานแบบอินเดียแดงที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ผลดีในองค์กร ผู้นำสี่ทิศ เป็นการนำเอาสัตว์สี่ตัว (กระทิง อินทรีย์ หนู และหมี) มาเป็นตัวแทนนิสัยของคนในองค์กร ซึ่งแต่ละคนต่างก็มีนิสัยแตกต่างกัน กิจกรรมนี้จะทำให้ผู้เข้าร่วมได้ค้นพบว่าตัวเองมีนิสัยแบบสัตว์ชนิดไหน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรามีนิสัยแบบสัตว์ชนิดไหน อันจะทำให้เราทราบถึงตัวตนที่แท้จริง และยอมรับในนิสัยของผู้อื่น เมื่อทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเองและผู้อื่น ก็จะทำให้เราสามารถพัฒนาตัวเองและปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้อย่างมีกระบวนทัศน์ ส่งผลให้การอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
3. ทฤษฎีตัวยู
เป็นเครื่องมือที่ Otto Charmer ปรมาจารย์ด้านการเรียนรู้แห่ง MIT ได้นำเสนอการเรียนรู้วิธีการใหม่เรียกว่า “การเรียนรู้จากอนาคต (Learning from the future)” ซึ่งมีความละม้ายคล้ายคลึงกับการฝึกมหาสติปัฏฐานสูตรทางพุทธศาสนา ที่เน้นเมื่อรับรู้ หรือสัมผัสกับอะไร ก็อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจหรือสรุปทันที ให้รู้จักพิจารณาห้อยแขวนความคิดนั้นๆไว้ก่อน เมื่อจิตว่าง แล้วค่อยตัดสิน ซึ่งถ้ารู้จักนำเอาทฤษฎีตัวยูเข้ามาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ก็เท่ากับเป็นการทำงานควบคู่ไปกับการปฏิบัติธรรม หรือที่เรียกว่า “บวชอยู่กับงาน” นั่นเอง
จะเห็นได้ว่าสมการแบบ Theory U จะทำให้คนมีเวลาไตร่ตรองมากขึ้น พอได้ยินหรือรับรู้อะไรบางอย่าง แทนที่จะตอบสนองเปรี้ยงปร้างออกไปทันที ก็ระงับห้อยแขวนปฏิกิริยาไว้ หลังจากนั้นก็สังเกต รับรู้อาการด้วยสติอันตื่นรู้ แล้วเลือกสรร ออกแบบสิ่งที่จะแสดงออกไปด้วยสติปัญญาด้วยหัวใจที่เปิดกว้าง
4. คลื่นสมอง
เป็นการนำเอางานวิจัยสมองของแอนนาไวส์มาปรับใช้ในการสื่อสารหรือการถ่ายทอดความรู้ในองค์กรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการอยู่ร่วมกันได้แก่คลื่นเบต้า คลื่นอัลฟ่า คลื่นเทต้า และคลื่นเดลต้า เป็นฝึกฝนตนเองเพื่อจะดึงเข้าสู่คลื่นอัลฟ่าให้ได้บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นคลื่นที่เหมาะกับการเรียนรู้ และสื่อสารกันอย่างกรุณา ซึ่งแตกต่างจากคลื่นเบต้าที่เน้นแต่เพียงเหตุผลของฐานความคิดเป็นสำคัญ จึงคุยกันไม่เข้าใจ เพราะมิได้สื่อสารกันไปถึงจิตใจของคู่สนทนา
5. โหมดชีวิต
เป็นการเรียนรู้พื้นฐานความเข้าใจเรื่องภาวะของมนุษย์ที่นำพาตัวเองเข้า–ออก จากสองสภาวะนี้ตลอดเวลา
โหมดปกติ : เป็นภาวะที่ร่างกายตื่นตัว พร้อมเผชิญกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงมีความกล้าหาญที่จะจัดการกับสถานการณ์นั้นๆด้วยความไว้วางใจลึกๆในตัวว่าจะดูแลและผ่านพ้นสถานการณ์ไปด้วยดี ในขณะเดียวกันจิตใจของเราก็จะรู้สึกเชื่อมโยง ชื่นชม และพร้อมให้อภัยตนเองและผู้อื่น พร้อมกันนั้นสภาวะปกติดังกล่าว สติปัญญาของเราจะสร้างสรรค์ เปิดรับและย่อยสิ่งใหม่ๆ ยืดหยุ่น ไม่ยึดติดกับกรอบความคิดและข้อมูลเรื่องราวเดิมๆ และพร้อมที่จะสืบค้นอนาคตในด้านบวก การสื่อสารสนทนาที่เกิดจากสภาวะนี้จะสด ใหม่ มีชีวิต และมีพลัง
โหมดปกป้อง : เป็นภาวะที่ร่างกายแข็งเกร็งด้วยความหวาดหวั่นและความกลัว เพราะไม่เชื่อมั่นในสมรรถนะของตนที่จะรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นรอบๆตัว ในภาวะที่พะวงเอาแต่ปกป้องตนเอง จิตใจของเราจะตัดขาดและแยกตัวจากผู้อื่น ตกอยู่ในร่องอารมณ์ ที่เป็นภาวะของอารมณ์ลบต่างๆต่อเนื่อง ทำให้เป็นอุปสรรคกับสัมพันธภาพกับผู้อื่นมากยิ่งขึ้น ในภาวะเช่นนี้สติปัญญาของเราจะจำกัดและตีบตันกับประสบการณ์และความรู้เดิม เหมือนเล่นเทปม้วนเก่า การสื่อสารสนทนาจะแห้งแล้ง ไร้พลัง
การเรียนรู้ถึงโหมดชีวิตมุ่งให้ผู้เข้าร่วมอบรมดำรงตนให้อยู่ในภาวะปกติให้มากที่สุดเพื่อเปิดโอกาสให้เขาได้สัมผัสโดยตรงด้วยตัวเขาเองว่าเมื่ออยู่ในความตื่นตัวพร้อมนั้นอารมณ์ความรู้สึกเชิงบวกความอ่อนโยนพร้อมที่จะเชื่อมโยงกับผู้อื่นและสามารถใช้ความคิดพลังสร้างสรรค์คล่องตัวทั้งทางร่างกายและจิตใจตลอดจนปัญญาควบคู่กันไป