Mindset (มายเซต) คือ กรอบความคิด หรือชุดความคิด ที่เกิดจากความเชื่อ แล้วส่งผลแสดงออกมาในรูปแบบของพฤติกรรมของแต่ละบุคคล ทำให้มีทัศนคติ บุคลิก พฤติกรรม วิถีชีวิต และความสำเร็จที่แตกต่างกันออกไป
Mindset ในทางพุทธศาสนา ตรงกับคำว่า ทิฐิ (ทิฏฐิ ในภาษาบาลี) แปลว่า "การเห็น" ซึ่งการเห็นนั้นไม่ใช่การมองเห็นด้วยสายตา แต่เป็นการเห็นด้วยกรอบความคิด หรือชุดความคิด ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ทิฐิ คือ
ซึ่งในบทความนี้จะขยายเรื่อง Mindset "กรอบความคิด" ในแง่มุมทางพุทธศาสนา และแนวทางการพัฒนากรอบความคิดในรูปแบบวิปัสสนา เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจต่อไป
Mindset มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อคนเรา ซึ่งกรอบความคิดนั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนเรา เป็นตัวกำหนดทิศทางในการกระทำของเราได้ เพราะจะส่งผลต่อทัศนคติ (Attitude) และการกระทำ (Action) เป็นลำดับๆ ดังนี้
ดังนั้น จุดเริ่มต้นของชีวิต จึงจำเป็นต้องพัฒนา Mindset กรอบความคิด หรือชุดความคิด ให้ถูกต้องเป็นสิ่งแรก เพื่อจะได้ให้การดำเนินชีวิตมีความปกติ ที่จะเอื้อต่อการประสบความสำเร็จ และมีความสุขในชีวิตประจำวัน
ในหนังสือ "Mindset" ของนักจิตวิทยาชื่อดัง Stanford Carol Dweck ที่เป็นนักจิตวิทยาด้านมายเซต (Mindset Psychology) กล่าวว่า
"ไม่ใช่ความฉลาด ความสามารถ หรือการศึกษาที่ทำให้คนเราประสบความสำเร็จแตกต่างกันออกไป แต่เป็นกรอบความคิดต่างหาก ที่ส่งผลต่อวิธีจัดการกับความท้าทายที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของแต่ละบุคคล"
ซึ่ง Carol Dweck เจ้าของทฤษฏี ได้แบ่ง Mindset ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
Growth Mindset คือ การมีกรอบความคิดที่เชื่อว่า การพยายามอย่างหนัก ความพากเพียร และความมุ่งมั่น นั้นสามารถปรับปรุงและพัฒนาตัวเองได้
ตามที่นักประสาทวิทยา Gilbert Gottlieb ยืนยันว่า ความฉลาดถูกกำหนดโดยการผสมผสานของยีนและสิ่งแวดล้อม และสภาพแวดล้อมนั้น มีอิทธิพลต่อการกระตุ้นยีนในช่วงชีวิตของคนเรา ไม่ว่าบุคลิกภาพขจะถูกกำหนดโดยธรรมชาติ หรือการเลี้ยงดูนั้น ยังคงเป็นข้อที่ถกเถียงกันอย่างหนัก
แต่สำหรับ Dweck เชื่อว่าคนเราสามารถพัฒนาทักษะ ความสามารถ พรสวรรค์ และแม้แต่สติปัญญาของตัวเราเองผ่านประสบการณ์ การฝึกฝน และความพยายามได้
คำติชมและข้อผิดพลาดช่วยให้เราเรียนรู้จากสิ่งเหล่านั้น และปรับปรุงให้ได้ดีขึ้น Dweck เรียกสิ่งนี้ว่าการมีส่วนร่วมอย่างมีจุดมุ่งหมาย
ในการวิจัยของ Dweck ได้สร้างทฤษฎี neuroplasticity ซึ่งเป็นความสามารถของสมองในการสร้างการเชื่อมต่อใหม่ไปสู่วัยผู้ใหญ่หลังจากที่ได้รับความเสียหาย หรือเมื่อถูกกระตุ้นโดยประสบการณ์ใหม่ๆ สิ่งนี้สนับสนุนแนวคิดที่ว่า คุณสามารถใช้กรอบความคิดแบบ Growth Mindset ได้ตลอดเวลาในทุกช่วงของชีวิต แม้คุณอาจจะไม่ใช่ Thomas Edison แต่กรอบความคิดแบบเติบโตนี้จะสามารถช่วยให้เราตระหนักถึงศักยภาพของตนเองผ่านการเรียนรู้และฝึกฝน
นี่คือเหตุผลที่ Carol Dweck กล่าวว่าการชื่นชมเมื่อมีคนทำได้ดีนั้น จะช่วยเสริมสร้างทัศนคติที่มุ่งมั่นได้เป็นอย่างดี จะกระตุ้นให้ลงมือทำเพื่อความสำเร็จในอนาคตต่อไป การชมเชยผลลัพธ์ทำให้ผู้คนรู้สึกดีกับตัวเอง
Fixed Mindset คือ การมีกรอบความคิดที่เชื่อว่า ความฉลาด ความสามารถ และพรสวรรค์อื่นๆ เป็นเรื่องของโชคชะตากำหนดไว้ และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
หากคุณมี Mindset แบบนี้ คุณอาจจะรู้สึกว่าคุณไม่ฉลาด หรือมีความสามารถมากพอที่จะบรรลุเป้าหมายได้ โดยเลือกทำเฉพาะสิ่งที่คิดว่าตนเองถนัด และทำได้ดีเท่านั้น
ที่แย่ไปกว่านั้น บุคคลที่มี Mindset แบบนี้ อาจกลัวว่าความสำเร็จของสมาชิกในทีมจะเกินความสามารถของตนเอง หรือกังวลว่าคนอื่นจะสังเกตเห็นว่าเขาขาดทักษะ ดังนั้นเขาอาจพยายามกีดกัน ป้องกันไม่ให้สมาชิกในทีมได้มีโอกาสพัฒนาทักษะใหม่ๆ โดยพยายามปิดกั้นโอกาสไม่ให้ทีมได้ก้าวหน้าในอาชีพ
Dweck และทีมวิจัยของเขา ได้ศึกษาสมองของบุคคลที่มี Mindset ทั้ง 2 โดยผู้ที่มีความเชื่อแบบ Growth Mindset เชื่อว่าพวกเขาสามารถเติบโตได้ด้วยความพยายามและการฝึกฝน พวกเขาคิดว่าพวกเขาสามารถทำอะไรได้ดีกว่านี้ ถ้าพวกเขาพยายามมากพอ
ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่มีกรอบความคิดแบบ Fixed Mindset เชื่อว่าความสามารถนั้นถูกกำหนดไว้ตั้งแต่อายุยังน้อย และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อถามถึงความสามารถของพวกเขา ทั้งสองกลุ่มตอบสนองต่างกัน ผู้ที่มีกรอบความคิดแบบ Growth Mindset จะรู้สึกดีเมื่อพวกเขาได้รับคำชมสำหรับความพยายามของพวกเขา ในขณะที่ผู้ที่มีกรอบความคิดแบบ Fixed Mindset กลับไม่รู้สึกเช่นนั้น
วิธีพัฒนา Mindset นั้น Carol Dweck เจ้าของทฤษฎีกรอบความคิดนี้ มีขั้นตอนง่ายๆ ที่จะช่วยให้เปลี่ยนวิธีคิดใหม่ได้ 4 ขั้นตอน ดังนี้
ตั้งใจฟังเสียงความคิดของคุณ ความคิดนั้นช่วยให้คุณก้าวไปสู่เป้าหมายหรือไม่? หรือกำลังฉุดรั้งคุณไว้? ความคิดนั้นกำลังวิจารณ์ตัวเองอยู่หรือเปล่า? สมองของคุณกำลังบอกคุณว่าคุณไม่ดีพอ ไม่ฉลาดพอ ไม่เก่งพอ ไม่สวยพอ ไม่ผอมพอ ไม่รวยพอ หรือประสบความสำเร็จไม่พอ?
ถ้าเป็นเช่นนั้น คุณอาจติดอยู่ในร่องของความคิดแบบ Fixed Mindset คุณอาจกลัวที่จะลองอะไรใหม่ๆ เพราะกลัวว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ถ้าคุณสามารถเปลี่ยนมุมมองของคุณได้ล่ะ? จะเป็นอย่างไรถ้าคุณได้ยินเสียงวิจารณ์ในตัวคุณแทนที่จะปล่อยให้เขาทำไปอัตโนมัติแบบธรรมชาติตามความเคยชิน
ตระหนักดีว่า ทุกคนต้องเผชิญกับอุปสรรค ความท้าทาย และความพ่ายแพ้ในช่วงชีวิตกันทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ที่สำคัญคือ แต่ละคนนั้นมีวิธีการตอบสนองต่อสถานการณ์เหล่านั้นแตกต่างกัน จึงประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวแตกต่างกัน
หากคุณมีทัศนคติคิดว่า "ฉันไม่ดี" คุณอาจรู้สึกแย่กับตัวเอง และบั่นทอนขีดความสามารถของคุณอยู่ตลอดเวลา ในทางกลับกัน หากคุณมองว่าอุปสรรคต่างๆที่ผ่านเข้ามาแต่ละครั้งนนั้น เป็นโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ คุณก็จะสามารถเริ่มพัฒนาตนเอง เปลี่ยนแปลงตนเองได้ ทำให้คุณต้องพยายามมากขึ้นในครั้งต่อไป โดยหาวิธีทำงานอย่างชาญฉลาดมากขึ้น หรืออาจเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ๆเพื่อให้ประสบความสำเร็จ
เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทาย และได้ยินเสียงความคิดว่า "ฉันไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร" หรือ "ฉันไม่คิดว่าฉันจะทำสิ่งนี้ได้" จำไว้ว่าคุณสามารถมีทักษะเพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายได้เหมือนคนอื่นๆ แม้คุณอาจจะไม่ประสบความสำเร็จในครั้งแรก แต่การฝึกฝนทำซ้ำบ่อยๆ จะช่วยให้คุณพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของคุณ
ถ้าเป็นแนวปฏิบัติจากผู้เขียนเอง ขั้นตอนนี้ คือ การกระทำตรงข้ามกับเสียงขัดขวางภายในใจ ให้เราก้าวข้ามเสียงนั้น ด้วยการลงมือทำในสิ่งตรงกันข้าม เช่น เสียงในหัวบอกว่า "อย่าเลย ยังไม่ต้องทำ ขอพักก่อน" เมื่อได้ยินเสียงขึ้นภายในหัว ก็จะรีบลงมือทำทันที เพื่อไม่ทำตามเสียงขัดขวางนั้น เมื่อทำแบบนี้บ่อยๆ เราจะมีพลังชีวิต หรือกำลังใจที่แน่วแน่เป็นอย่างมาก
เมื่อคุณฝึกฝนการให้มีสติเท่าทันในการคิดและการกระทำแล้ว การลงมือทำจะเป็นการรับมือกับอุปสรรคในทางบวก และต่อไปจะกลายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เช่นเดียวกับการเล่นดนตรีก็ต้องมีการฝึกฝน การเล่นกีฬาก็เช่นเดียวกัน ต้องมีการฝึกบ่อยๆซ้ำๆ ถึงจะเก่งขึ้น
การรับมือกับความท้าทายของชีวิตก็เช่นเดียวกัน เมื่อพบกับเรื่องยากๆผ่านเข้ามาในชีวิต ก็ย่อมฝึกฝนให้เราได้เก่งขึ้นนั่นเอง
แนวทางการพัฒนา Mindset แบบพุทธ อาจมีความแตกต่างจากสายจิตวิทยาอยู่ที่เป้าหมาย เพราะแนวทางของพุทธนั้นเน้นให้ถึงการดับทุกข์ ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก ส่วนของจิตวิทยาจะเน้นการพัฒนา Mindset เพื่อให้ชีวิตมีความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิตเท่านั้น และแนวทางการปฏิบัติอาจจะแตกต่างจากแนวทางของพุทธเป็นอย่างมาก เพราะเครื่องมือในการพัฒนา Mindset แบบพุทธจะเน้นที่การมี "สติ" หรือการเจริญสติให้ต่อเนื่อง แต่ก็อาจเทียบเคียงกับ Mindset แบบจิตวิทยาโดยแบ่งได้ ดังนี้
Growth Mindst คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก
Fixed Mindset คือ มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด
ซึ่งในบทความนี้ ผู้เขียนจะนำตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติตามวิธีที่หลวงพ่อสำราญ ธมฺมธุโร หรือหลวงพ่อกล้วย แห่งวัดป่าธรรมอุทยาน จ.ขอนแก่น ที่ท่านได้เมตตาสอนผู้เขียนเอง มาสรุปเป็นแนวทางสั้นๆ เพื่อได้เห็นแนวทางของกาารพัฒนา Mindset แบบพุทธพอให้ได้เข้าใจ ดังนี้
ก่อนที่จะพัฒนา Mindset ได้นั้น ให้เข้าใจเรื่องของความคิดกันชัดๆก่อนว่าความคิดไหนควรพัฒนาต่อยอด หรือความคิดไหนควรดับทิ้ง ซึ่งมีอยู่ 3 ความคิด โดยใช้การเจริญสติ เข้าไปดู เข้าไปจัดการในแต่ละความคิด
อันนี้เป็นความคิดที่มนุษย์ทุกคนต้องมี ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ ความคิดที่เกิดจากสมองยังคงทำงานไปตามปกติ แต่ท่านให้ใช้วิธีการ คือ ให้คิดแต่สิ่งที่ดี สิ่งที่เป็น "กุศล" เท่านั้น ความคิดที่ไม่ดี ความคิดแบบอกุศล คิดลบต่างๆ ให้ดับทิ้ง ให้หยุดคิด แล้วสมองของเราก็จะได้พัก และประหยัดสมองไปในตัว
ความคิดที่ไม่ตั้งใจคิด คือความคิดจร ที่ผุดๆเข้ามาในหัว ท่านให้ตามดู ตามรู้ จนเห็นว่าไม่มีสาระประโยชน์อะไร จนเห็นวงจรของมันคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นตามกฎของไตรลักษณ์ ถ้าเห็นไตรลักษณ์ ปัญญาก็จะเกิด
ความคิดที่เกิดจากจิต คือความคิดที่เจือปนจนเกิดเป็นอารมณ์ ความรู้สึก อคติต่างๆ ความคิดตัวนี้ท่านให้ดับทิ้ง ไม่ปล่อยให้มันมีกำลังเกิดต่อ
ทีนี้แนวทางในการพัฒนา Mindset แบบพุทธ ก็คือให้เราเจริญสติ ระลึกรู้อยู่กับปัจจุบัน ให้เท่าทันความคิด ไม่ปล่อยให้ความคิดมาปรุงแต่งจิตให้เป็นอารมณ์ต่างๆ เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ และพัฒนาขึ้นความคิดกับจิตจะอยู่คนละส่วนกัน ผลลัพธ์ที่ได้คือ บุคคลที่พัฒนา Mindset แบบพุทธแล้วนั้น จะเป็นผู้ที่ คิด พูด ทำ แต่สิ่งที่ดี เมื่อการดำเนินชีวิตประกอบไปด้วย คิดดี พูดดี ทำดี ชีวิตก็จะมีความสุข มีความก้าวหน้า อย่างแท้จริง
“คุณไม่สามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ เว้นแต่คุณจะฝันถึงมันก่อน”
- Pablo Picasso -
“วิธีที่ดีที่สุดในการทำนายอนาคต คือการสร้างมันขึ้นมา”
- ปีเตอร์ ดรักเกอร์ -
“ถ้าเราไม่เปลี่ยนทิศทาง เราก็จะไปถึงจุดที่เรากำลังมุ่งหน้าไป”
- จอห์น เอฟ. เคนเนดี -
“ฉันไม่สนใจที่จะคาดเดาสิ่งที่ฉันจะคิดในวันพรุ่งนี้ ฉันเพียงต้องการให้แน่ใจว่าวันนี้ฉันจะคิดมันให้ชัดเจน”
- โสกราตีส -
“สิ่งที่กำหนดชะตากรรมของเราไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา แต่เป็นวิธีที่เราตอบสนองต่อสิ่งนั้นต่างหาก”
- ชาร์ลส์ เอ็ม. ชวาบ -
“เรามักจะประเมินผลกระทบของวิกฤตสูงเกินไป และประเมินพลังของโอกาสต่ำไป”
- วอร์เรน บัฟเฟตต์ -
“ผู้มองโลกในแง่ร้ายมองเห็นความยากลำบากในทุกโอกาส ผู้มองโลกในแง่ดีมองเห็นโอกาสในทุกปัญหา”
- วินสตัน เชอร์ชิลล์ -
“เมื่อล้มแล้วให้ลุกขึ้นใหม่ ถ้าอยู่เฉยๆ จะไม่มีทางรู้ว่าใครสามารถช่วยให้คุณลุกขึ้นกลับมาได้”
- โอปราห์วินฟรีย์ -
“อย่ายอมแพ้! และจำไว้เสมอว่า...คุณกล้าหาญกว่าที่คุณเชื่อ แข็งแกร่งกว่าที่คุณเห็น และฉลาดกว่าที่คุณคิด”
- คริสโตเฟอร์ โรบิน -
“อย่าให้ใครบอกว่าคุณทำไม่ได้ เพียงแค่คุณต้องพิสูจน์ว่าคนนั้นพูดผิด”
- ไมเคิลจอร์แดน -
“ชีวิตไม่ใช่การรอคอยให้พายุผ่านพ้น...แต่เป็นการเรียนรู้ที่จะเต้นรำกลางสายฝน”
- วิเวียน กรีน -
“การอยู่อย่างพอเพียง ค้นหาสิ่งที่ทำให้คุณมีความสุขแล้วทำให้มันเกิดขึ้น ไม่ต้องกังวลเรื่องการหาเงิน”
- เดวิด ชวาร์ตซ์ -
ถ้าสิ่งที่ทำนั้น รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดี ไม่มีผลเสียหายกับใคร แล้วเราเองรู้สึกว่ามีพลังในการลงมือทำ ให้รีบลงมือทำทันที ไม่ต้องคิดเยอะ เวลาผ่านจะจะเป็นตัวให้คำตอบเองว่าสิ่งที่คิดนั้น เป็น Mindset ที่ถูกต้องหรือไม่
การคิดบวกหมายความว่าคุณเชื่อมั่นในตัวเองและสิ่งที่คุณสามารถทำได้ การมีทัศนคติที่ดีหมายความว่าคุณยอมรับในตัวตนของคุณและยอมรับจุดแข็งของคุณ การคิดบวกไม่ได้หมายความว่าคุณไม่มีข้อบกพร่อง มันหมายความว่าคุณรู้จักและพยายามหลีกเลี่ยงข้อบกพร่องนั้นต่างหาก ทัศนคติเชิงบวกไม่ได้หมายความว่าให้เพิกเฉยต่อจุดอ่อนนั้น แต่เน้นว่าจะปรับปรุงและพัฒนาจุดอ่อนเหล่านั้นได้อย่างไรต่างหาก
คุณไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของคนอื่นได้ เฉพาะตัวคุณเองเท่านั้น เมื่อคุณพยายามบังคับคนอื่นให้มีพฤติกรรมแตกต่างออกไป พวกเขาจะไม่ทำตามในที่สุด ให้เน้นที่การเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน เมื่อคุณกลายเป็นคนที่ดีขึ้นแล้ว คนอื่นก็จะตามมาเอง
การกลัวความล้มเหลวเป็นเรื่องปกติ ทุกคนจะประสบกับเรื่องนี้ในบางช่วงชีวิต อย่างไรก็ตาม หากคุณปล่อยให้ความกลัวรั้งคุณไว้ ชีวิตก็จะล้มเหลว เพื่อเอาชนะความกลัวนี้ คุณต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดและก้าวต่อไป อย่าจมปลักอยู่กับอดีต และอย่าให้มันมากระทบอนาคตของคุณ
ความคิดเชิงลบทำให้เกิดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ความคิดเชิงลบยังนำไปสู่ความสงสัยในตนเองและขาดความมั่นใจ หากคุณพบว่าตัวเองกำลังจมอยู่กับความคิดเชิงลบ ให้ถอยออกมาแล้วถามตัวเองว่าจะทำอย่างไรเพื่อทำให้ตัวเองมีความสุข จดจ่อกับสิ่งที่ดีในชีวิตของคุณและเตือนตัวเองถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ทั้งหมดที่คุณทำสำเร็จแล้ว
กำลังใจคือเชื้อเพลิงที่ทำให้เราก้าวต่อไป ถ้าปราศจากแรงจูงใจ เราก็ทำอะไรไม่ได้ แรงจูงใจมาจากสิ่งต่างๆ มากมาย รวมทั้งสิ่งแวดล้อม ครอบครัว เพื่อนฝูง และตัวเราเอง คุณต้องท้าทายตัวเองอยู่เสมอ ท้าทายตัวเองทางจิตใจ ร่างกาย อารมณ์ และจิตวิญญาณ
ความเครียดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราทุกคนต่างประสบกับมันในบางจุดในชีวิตของเรา ความเครียดอาจเป็นได้ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ หรือจิตวิญญาณ การรับมือกับความเครียดเป็นทักษะที่เรียนรู้ ด้วยการเรียนรู้ที่จะจัดการกับความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพ คุณจะมีชีวิตที่มีความสุขและมีสุขภาพดีขึ้นได้
Mindset หรือกรอบความคิด เป็นจุดเริ่มต้นที่ส่งผลต่อ ทัศนคติ (Attitude) บุคลิกภาพ พฤติกรรม และโชคชะตาของแต่ละบุคคล ให้มีความสุขและความสำเร็จที่แตกต่างกัน
ซึ่ง Mindset นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับการศึกษา แต่ขึ้นอยู่กับว่าใครพัฒนา Minset ของตนเองได้มากน้อยเพียงใด เพราะ Mindset ถือเป็นหนึ่งใน Soft Skills ที่ควรพัฒนาเร่งด่วน หากต้องการมีความสุข และประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
สำหรับแนวทางในการพัฒนากรอบความคิดนั้น มีหลากหลายแนวทาง ขึ้นอยู่กับจริตของแต่ละบุคคลที่จะเลือกพัฒนา และทุกวันนี้ยังมี Mindset Applications หรือโปรแกรมช่วยพัฒนากรอบความคิดให้เลือกใช้อย่างมากมาย เข้าไปอ่านได้ในบทความ โปรแกรมสร้าง Mind Map
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทางข้อความ Messenger