Soft skill คืออะไร มีอะไรบ้าง และ 10 วิธีพัฒนาไปพร้อมกับ Hard skills

ปัจจุบันเทคโนโลยีและสื่อออนไลน์มีบทบาทกับชีวิตเราโดยตรง ทำให้ความรู้ในวิชาชีพ (Hard skills) นั้นสามารถเรียนรู้ผ่าน google ผ่าน Youtube ง่ายขึ้น แต่ Soft skill ต้องเกิดจากการฝึกฝน ขัดเกลาตนเองอยู่บ่อยๆ หากใครที่มี Soft skill ย่อมสร้างความได้เปรียบในโลกยุคปัจจุบัน และโลกยุคเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy)

การรวบรวมบทความเพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับ Soft skill ในทุกมิติ อาทิ แตกต่างจาก Hard skill อย่างไร และจะพัฒนา Interpersonal skills อย่างไร เป็นต้น

Soft Skill คืออะไร?

Soft skill คือ หนึ่งใน Future skill (ทักษะอนาคต) เป็นทักษะที่อยู่ด้านใน ค่อนข้างเป็นนามธรรมจับต้องได้ยาก ไม่ใช่ทักษะที่ทำให้งานประสบความสำเร็จ ลุล่วง หรือส่งผลดีต่องานโดยตรง แต่เป็นทักษะทางอ้อมที่มีช่วยส่งเสริมให้การทำงานในวิชาชีพนั้นราบรื่นขึ้น สะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น

  • ทักษะการสื่อสาร (Communication Skill)
  • ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)
  • การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (Relationship Skill)
  • ทักษะการทำงานเป็นทีม (Teamwork)

soft skill

Soft skill แปลว่าอะไรในภาษาไทย?

สำหรับคำว่า Soft skill ในภาษาไทยอาจจะไม่นิยม และไม่คุ้นเคยมากนัก ส่วนใหญ่นิยมเรียกคำทับศัพท์แทน ซึ่งสำนักงานราชบัณฑิตยสถานได้ใช้คำว่า จรณทักษะ (จะระนะ) โดยอธิบายว่า บุคคลที่มีจรณทักษะจะเป็นผู้ปฏิบัติงานได้ดี ส่วนบุคคลที่มีสมรรถนทักษะ (Hard skill) จะเป็นผู้ปฏิบัติงานได้เก่ง

Hard Skill คืออะไร?

คือทักษะด้านวิชาชีพ (Job skill) ทักษะที่ใช้ในการทำงานให้สำเร็จ ลุล่วง เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ ฝึกฝน อบรม สัมมนา ตามสายวิชาชีพนั้นๆ ซึ่งอาชีพเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ Hard Skill เช่น

สถาปนิก

ก็ต้องมีทักษะในการเขียนแบบ เพราะเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของสถาปนิกทุกคนที่ต้องเขียน อ่านแบบได้ ตั้งแต่ในขั้นตอนการวางแผนการก่อสร้าง สถาปนิกต้องเขียนแบบแผนผังชั้น ระดับความสูง ส่วนต่างๆ และรายละเอียด แบบต่างๆเหล่านี้ใช้เพื่อสื่อสารแนวคิด และข้อมูลให้กับลูกค้า ผู้รับเหมา และวิศวกร ได้เข้าใจตรงกัน

ทนายความ

ต้องมีทักษะที่เป็นพื้นฐานของอาชีพทนายความ อาทิ มีความรู้และเข้าใจกฎหมายในสายวิชาชีพนั้นๆ เช่น พื้นฐานของกฎหมายสัญญา กฎหมายทรัพย์สิน กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และด้านอื่นๆ เช่น การล้มละลาย ทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการจ้างงาน และกฎหมายภาษีอากร เป็นต้น

ทันตแพทย์

ต้องมีทักษะทางทันตกรรมขั้นพื้นฐานในการทำหัตถการ เช่น อุดฟัน ครอบฟัน ขจัดหินปูน ฯลฯ รู้จักปัญหาช่องปาก รู้จักวิธีการใช้เครื่องมือทันตกรรมได้อย่างเหมาะสม เป็นต้น

Soft Skill กับ Hard Skill ต่างกันอย่างไร

Hard Skills หมายถึง ความรู้และความสามารถพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับงาน หรือวิชาชีพโดยตรง ที่พนักงานต้องมีเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วน Soft skills เป็นทักษะ เป็นคุณสมบัติส่วนบุคคล ที่แตกต่างกันไป ซึ่งช่วยทำให้พนักงานมีความเป็นเลิศในตำแหน่งหน้าที่ของตนอย่างแท้จริง

Hard skills นั้น เราอาจใช้ค้นหาผู้สมัครว่ามีความสามารถ หรือมีความเก่งมากน้อยแค่ไหน โดยอ่านได้จากเอกสารสมัครงาน เรซูเม่ หรือหนังสือรับรองคุณวุฒิ วุฒิบัตรต่างๆ เป็นต้น

ในขณะที่ Soft skills นั้น หากต้องการรู้ว่าผู้สมัครคนใดมีคุณสมบัติด้าน Soft skills ที่ดีในตัวเอง จะต้องมีการนัดสัมภาษณ์ พูดคุย ดูบุคลิกก่อน ถึงจะพอทราบได้ว่าเป็นอย่างไร

หากสรุประหว่างความแตกต่างระหว่างทักษะทั้งสองอย่างนี้ที่สำคัญๆ คือวิธีการเรียนรู้ Hard skills ส่วนใหญ่มักจะได้มาจากการเรียน การสอน หรือได้มาจากการศึกษาอย่างเป็นทางการ ซึ่งมักจะมาพร้อมกับใบรับรองต่างๆ ส่วน Soft skills นั้นส่วนใหญ่เป็นเรื่องของจิตใจภายใน ขึ้นอยู่กับนิสัยของแต่ละบุคคลไป แต่ก็มีบางทักษะที่สามารถสอนกันได้ เช่น เรื่องที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพ เป็นต้น

ประโยชน์ของ Soft skill

ด้วยความเจริญทางเทคโนโลยี และเครื่องมือสื่อสาร มีความก้าวหน้าทันสมัย การเข้าถึงและการใช้งานยิ่งนับวันค่อนข้างง่ายและมีความสะดวกมากขึ้น ดังนั้น การพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ หรือ Hard skills อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ยากเหมือนสมัยก่อน และอาจจะไม่ได้สร้างความได้เปรียบ หรือความแตกต่างแล้ว

ดังนั้น หากต้องการความก้าวหน้าในอาชีพการงาน นี่คือเหตุผลที่ควรพัฒนา Soft skills ได้แก่

1. มีโอกาสในการจ้างงานมากขึ้น

Soft skills ไม่ใช่ทักษะที่ทำให้การทำงานได้ดีเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยในเรื่องต่างๆ เช่น การสื่อสาร การทำงานร่วมกัน ความเป็นผู้นำ การจัดการทีมงาน และการบริการลูกค้า (Customer service) นายจ้างจึงให้ความสำคัญกับคุณลักษณะเหล่านี้มาก เพราะบ่งบอกว่าคุณจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

2. ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์เป็นกระบวนการที่กดดัน แต่ผู้สมัครที่แสดงออก ให้เห็นถึงทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มักจะได้เปรียบผู้สมัครท่านอื่น เพราะผู้สัมภาษณ์จะเฟ้นหาผู้สมัครที่มีความมั่นใจ พูดจาชัดเจน และสามารถโต้ตอบกับคนแปลกหน้าได้เป็นอย่างดี

3. ช่วยสร้างความสัมพันธ์

ช่วยให้คุณสามารถสื่อสารอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพกับเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า และผู้บังคับบัญชา เมื่อสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ช่วยให้เป็นที่ชื่นชอบและน่าเชื่อถือมากยิ่งๆขึ้น

4. Soft Skills นำไปสู่ความก้าวหน้าในอาชีพ

ความก้าวหน้าในอาชีพต้องใช้ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นเสมือนบันไดให้ก้าวไปสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้จัดการ และผู้บริหารระดับสูง จึงมีโอกาสก้าวหน้ากว่าคนอื่น

Interpersonal skills คืออะไร มีอะไรบ้าง?

Interpersonal skills คือ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นความสามารถในการโต้ตอบกับผู้อื่น ทักษะเหล่านี้ช่วยให้เราเข้าใจอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้อื่น เราใช้ทักษะเหล่านี้เพื่อสื่อสารกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยสนับสนุน Soft kills ได้เป็นอย่างดี ได้แก่

1. ความเห็นอกเห็นใจ

การเอาใจเขาามาใส่ใจเรา คือความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ในสิ่งที่พวกเขารู้สึก เมื่อเราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เราพยายามเข้าใจมุมมอง และความรู้สึกของพวกเขา เราสามารถทำได้โดยการตั้งใจฟัง มองสิ่งต่าง ๆ จากมุมมองของพวกเขา และพยายามจินตนาการว่าพวกเขากำลังคิดอะไรหรือรู้สึกอยู่

2. การตระหนักรู้ในตนเอง

การตระหนักรู้ในตนเอง หมายถึง การรู้ว่าตนเองเป็นใคร และเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง โดยต้องมีความตระหนักรู้ในตนเอง ถ้าหากต้องการประสบความสำเร็จในเรื่องสัมพันธภาพ การงาน การเรียนรู้ และชีวิตส่วนตัว ให้คิดถึงลักษณะบุคลิกภาพ ค่านิยม ความสนใจ เป้าหมาย และความฝันของตนเอง จากนั้นมองย้อนกลับไปในช่วงเวลาหนึ่งเพื่อสังเกตรูปแบบพฤติกรรม และปรับปรุงตนเองตลอดเวลา

3. การแก้ไขข้อขัดแย้ง

การแก้ไขข้อขัดแย้ง เป็นการหาวิธีแก้ไขปัญหาโดยไม่ทำร้ายความรู้สึกของใคร ในสถานการณ์ความขัดแย้ง ทั้งสองฝ่ายอาจไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่ควรเกิดขึ้น แต่ทุกคนต้องการหลีกเลี่ยงคำพูดแ ละการกระทำที่ทำร้ายจิตใจของกันและกัน การแก้ไขข้อขัดแย้งนั้นมีช่วยให้เราพบวิธีที่ทำให้ทุกคนมีความสุขได้

4. มีความฉลาดทางสังคม

ความฉลาดทางสังคม คือ ความสามารถในการอ่านตัวชี้นำทางสังคมและตีความได้อย่างถูกต้อง ผู้ที่มีสติปัญญาทางสังคมสูง จะสามารถรู้จักการแสดงออกทางสีหน้า น้ำเสียง ภาษากาย และท่าทาง ของผู้อื่นได้ บอกได้ว่าบางสิ่งจริงหรือเท็จ ถูกหรือผิด เป็นมิตรหรือไม่เป็นมิตร น่าเชื่อถือหรือไม่น่าไว้วางใจ สามารถรับรู้ได้ว่าพฤติกรรมต่าง และสามารถหาวิธีตอบสนองอย่างเหมาะสมกับคนประเภทนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี

5. ทักษะความเป็นผู้นำ

ทักษะการเป็นผู้นำ เกี่ยวข้องกับการดูแลกลุ่มคน และการกระตุ้นให้พวกเขาลงมือทำเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ผู้นำตั้งความคาดหวังที่ชัดเจนและทำให้แน่ใจว่าผู้ตามของเขาเข้าใจตรงกัน ผู้นำจะสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความมั่นใจ และความไว้วางใจกับผู้ตาม

6. ทักษะการสื่อสาร

ทักษะการสื่อสาร เป็นเครื่องมือที่เราใช้แสดงออกอย่างชัดเจน และมีประสิทธิภาพ ทักษะการสื่อสารที่ดีทำให้ชัดเจน ในทุกๆเรื่อง และเข้าใจตรงกันเป็นอย่างดี

Hard skills และ Soft skill มีอะไรบ้าง

Soft skill ตัวอย่าง

  • Lifelong Learning Skills
  • Essential Life Skills
  • Critical Thinking
  • Growth Mindset
  • Positive Attitude
  • Life-Long Learning

Hard skills ตัวอย่าง

  • Technical skills
  • Accounting Skills
  • Design Skills
  • Language Skills
  • Project Management Skills
  • Writing Skills

กิจกรรมพัฒนา Soft skills ให้กับตนเอง 10 ข้อ

นี่คือเคล็ดลับเกี่ยวกับวิธีพัฒนา soft skills ที่ควรมีให้กับตนเอง :

1. ฝึกฝนบ่อยๆทำให้เก่ง

เนื่องจาก Soft skill เป็นทักษะที่อยู่ด้านใน ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม จึงจำเป็นต้องคอยฝึกฝนอยู่บ่อยๆ เพื่อที่จะทำให้เก่งขึ้นกว่าเดิม

นี่คือตัวอย่างความเป็นจริงในทุกๆ สิ่ง เมื่อเล่นกีฬา ไม่ได้มีใครคาดหวังว่าจะชนะในทันทีที่เริ่มต้นเล่นกีฬานั้นๆ ซึ่งจะต้องฝึกฝนจนกว่าจะเชี่ยวชาญ ในทำนองเดียวกัน เมื่อต้องการพัฒนา soft skills ก็จำเป็นต้องฝึกฝนซ้ำๆทำในสิ่งที่อาจจะยังไม่คุ้นเคยในตอนแรกเสียก่อน ทำไปเรื่อยๆ และพยายามแก้ปัญหาที่พบเจอในชีวิตประจำวัน ก็จะยิ่งเก่งขึ้นเรื่อยๆ หากมีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ

2. ระวังจุดแข็งและจุดอ่อน

ในการพัฒนา soft skills จำเป็นต้องระบุจุดแข็ง และจุดอ่อนของตนเองให้ได้เสียก่อน จากนั้น ก็ต้องพยายามปรับปรุงจุดอ่อน และพัฒนาจุดแข็งอย่างต่อเนื่อง

3. โฟกัสไปที่ทักษะทีละอย่างๆ

ในการพัฒนาทักษะ soft skills นั้น ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะจะต้องอาศัยเวลา ดังนั้น จึงแนะนำให้มุ่งเน้นฝึกฝนไปทีละทักษะจะดีกว่า การตั้งเป้าหมาย และทำสำเร็จตามเป้าหมายย่อยๆทีละเป้าหมาย จะทำให้มีกำลังใจในการฝึกฝน และพัฒนาตนเอง

4. อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น

การเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น คือการยอมให้หัวขโมยๆความสุข ไปจากตัวเราเอง ดังนั้นให้หยุดเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ไม่มีประโยชน์อะไร ที่จะเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ทุกคนมีจุดแข็ง และจุดอ่อนของตัวเอง ทุกคนมีลักษณะบุคลิกภาพที่เป็นเอกลักษณ์ในแบบฉบับของตนเอง การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นจะทำให้คุณเสียสมาธิ และหมดกำลังใจ ไปจากการพัฒนาตนเอง

5. รับผิดชอบต่อการพัฒนาของตัวคุณเอง

โปดจำไว้ว่า “คุณต้องรับผิดชอบต่อการพัฒนาของคุณเอง” ไม่มีใครสามารถทำให้คุณได้ คุณต้องรับผิดชอบต่อการเติบโตของคุณเอง คุณต้องยอมรับว่าคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในชั่วข้ามคืน แต่คุณสามารถปรับปรุงตนเองได้ตลอดเวลา

ขอให้จำไว้ว่า คุณสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ คุณสามารถพัฒนา soft skills ของคุณให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้

6. ฝึกการสื่อสารระหว่างบุคคล

การสื่อสารเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต หากคุณไม่มีทักษะด้านการสื่อสาร คุณจะไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การเรียนรู้วิธีการสื่อสาร จึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่งในการพัฒนาทักษะด้านอารมณ์ของคุณด้วย

7. เรียนรู้วิธีแก้ปัญหา

ปัญหาต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของแต่ละคน นั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ เกิดขึ้นในทุกๆ ด้านของชีวิต ดังนั้น การเรียนรู้วิธีแก้ปัญหา จึงเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญของการพัฒนา soft skills ของคุณ

8. สร้างมิตรภาพกับผู้ที่สามารถช่วยคุณได้

การสร้างความสัมพันธ์เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของ soft skills เมื่อคุณติดต่อสื่อสารกับผู้คน คุณควรมุ่งเน้นที่การพัฒนาความสัมพันธ์ แทนที่จะพยายามสร้างแค่ความประทับใจให้พวกเขา ซึ่งหมายถึงการมุ่งเน้นช่วยเหลือผู้อื่นด้วยใจจริง แบบธรรมชาติ

9. ระวังอารมณ์ของคุณ

ความตระหนักทางอารมณ์เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนา soft skills การรู้เท่าทันอารมณ์จะทำให้คุณเข้าใจความรู้สึก และมีการตอบสนองได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ยังทำให้คุณเป็นคนเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากยิ่งขึ้นด้วย

10. ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง

การมีเวลาอยู่กับตนเอง คิดใคร่ครวญ ทบทวนสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับตนเอง เป็นอีกหนึ่งประการของการพัฒนา soft skills นอกจากนี้จงใช้เวลาที่มีค่า ทำในสิ่งที่คุณชื่นชอบ ทำในสิ่งที่ดีให้กับตนเอง เช่น

ใช้เวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หยุดพักจากเทคโนโลยี นอนหลับให้เพียงพอ เป็นต้น

คุณลักษณะ Soft skills ที่ช่วยเสริมบุคลิกภาพให้โดดเด่น

soft skills เป็นบุคลิกภาพที่ทำให้เราเป็นมนุษย์โดยแท้จริง ซึ่งรวมถึงสิ่งต่างๆ เช่น การเอาใจใส่ ความเห็นอกเห็นใจ ความซื่อสัตย์สุจริต ความจริงใจ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความอดทน ความพากเพียร ความตระหนักรู้ในตนเอง และความเป็นผู้นำ เป็นต้น

soft skills เหล่านี้มักถูกมองข้ามในสังคมของเรา แต่จำเป็นต่อความสำเร็จในชีวิตเป็นอย่างมาก และต่อไปนี้คือ 5 ทักษะ หรือคุณลักษณะที่ทุกคนควรพัฒนาเป็นอย่างยิ่ง

1. ความเข้าอกเข้าใจ

การเอาใจใส่ต่อผู้อื่น เป็นหนึ่งในทักษะด้านอารมณ์ที่มีคุณค่ามากที่สุด หากคุณไม่เข้าใจความรู้สึก อารมณ์ และความคิดของผู้อื่น คุณจะไม่สามารถเชื่อมต่อกับลูกค้าและพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป็นไปไม่ได้อย่างยิ่ง ที่การเป็นผู้นำ หรือการทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้น ที่ไม่เข้าใจความต้องการของคนรอบข้าง

ดังนั้น ก้าวแรกของการพัฒนา soft skills คือการเรียนรู้ความเข้าอกเข้าใจผุ้อื่น

2. ความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์สุจริต คือความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี และมีความรับผิดชอบ คนจริงใจไว้ใจได้ และคนที่น่าเชื่อถือ น่าเคารพนับถือ จะทำให้ผู้อื่นไว้วางใจ การติดต่อสื่อสาร หรือการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ก็จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย

3. ความอ่อนน้อมถ่อมตน

ความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเย่อหยิ่ง คนหยิ่งทะนงในตัวเอง มักเป็นคนที่จะไม่ยอมรับคำวิจารณ์ใดๆจากใคร แต่ตรงกันข้ามคนอ่อนน้อมถ่อมตน เปิดผู้ที่เปิดรับคำติชม และคำแนะนำจากผู้อื่น ดังนั้น จึงมีโอกาสพัฒนาตนเองมากกว่า

4. ความอดทน

ความอดทน คือ ความเต็มใจที่จะรอคอยเวลา คือความสามารถในการอดทนต่อความขัดข้องของใจ ต่อความไม่รู้สึกพึงพอใจ ความอดทนจึงกลายเป็นคุณสมบัติที่ดีของผู้ที่มี soft skills ที่โดดเด่น

ประโยชน์ของ Soft skills

Soft skills เป็นทักษะไม่ใช่แค่ดีเพียงอย่างเดียว แต่ยังทำให้มีความเป็นมืออาชีพที่ประสบความสำเร็จได้อีกด้วย นี่คือประโยชน์ต่างๆ ของการมี Soft skills

1.ช่วยให้คุณสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การสื่อสารเป็นกุญแจสำคัญในการทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จ ไม่ว่าคุณจะกำลังพูดคุยกับลูกค้า เพื่อนร่วมงาน หรือลูกค้า ความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพนั้นvมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการประสบความสำเร็จในงานของคุณ

2.ช่วยคุณสร้างความสัมพันธ์อันดี

การสร้างความสัมพันธ์เป็นส่วนสำคัญของการทำผลงานในอาชีพการงานของคุณ การมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดีทำให้สร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่คุณพยายามเจรจาให้ลูกค้าต้องซื้อของ หรือตอนที่ต้องการได้งานใหม่

3.ช่วยจัดการความขัดแย้ง

ความขัดแย้งเกิดขึ้นในที่ทำงานทุกแห่ง ความสามารถในการจัดการความขัดแย้งอย่างมืออาชีพ ถือเป็นทักษะที่มีค่ามาก เมื่อคุณสามารถจัดการกับความขัดแย้งได้ดี คุณจะพบว่าตัวเองได้เลื่อนตำแหน่งเร็วขึ้น และมีโอกาสร้างรายได้มากขึ้นอีกด้วย

4.สนับสนุนความเป็นผู้นำ

ความเป็นผู้นำมีความสำคัญต่อความสำเร็จในอาชีพการงาน ผู้คนมองหาผู้นำเพื่อขอคำแนะนำ และทิศทางที่ชัดเจน หากคุณเป็นผู้นำ คุณจะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น และจะมีผู้ติดตามเป็นจำนวนที่มากขึ้น

5.ช่วยให้คุณมีประสิทธิผลมากขึ้น

การมีประสิทธิผลเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จในอาชีพการงานของคุณ แต่การมีประสิทธิภาพก็เช่นกัน ทักษะการสื่อสารที่ดีช่วยให้คุณมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ประหยัดได้ทั้งเวลา และก็พลังงาน อีกด้วย

6.ช่วยให้ประสบความสำเร็จในชีวิต

คนที่ประสบความสำเร็จมักจะมีความสุข และมองโลกในแง่ดี การมองในแง่บวก เป็นนิสัยไปตลอดชีวิต หากคุณเป็นคนร่าเริงและมองโลกในแง่ดี คุณจะดึงดูดผู้คนที่มีความคิดเหมือนกันเข้ามารายรอบตัวคุณเช่นกัน

7.ช่วยให้บรรลุเป้าหมายส่วนตัว

เป้าหมายส่วนบุคคลมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายอย่างมืออาชีพ ทักษะการสื่อสารทำให้คุณสามารถกำหนดเป้าหมายส่วนบุคคล และบรรลุเป้าหมายได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการลดน้ำหนัก คุณอาจตัดสินใจเข้ายิมหรือกินอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

Soft skills ในงานบริการมีอะไรบ้าง

Soft skills มีความสำคัญต่อธุรกิจภาคบริการเป็นอย่างมาก ซึ่งได้แก่การสื่อสาร ความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การแก้ไขข้อขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และการจัดการตนเอง

ในอุตสาหกรรมการบริการ ทักษะเหล่านี้มีความสำคัญเป็นพิเศษ หากคุณไม่มีพวกเขา คุณจะไม่ประสบความสำเร็จในสาขาที่คุณเลือก

ต่อไปนี้คือ 8 อันดับแรกของ Soft skills ที่ควรมีของพนักงานในธุรกิจภาคบริการ

1.ทักษะการสื่อสาร (Communication)

ทักษะการสื่อสารที่ดี เป็นสิ่งจำเป็นในสถานที่ทำงาน ทักษะนี้ช่วยให้ถ่ายทอดข้อมูลและความคิดไปยังผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.ทักษะความเป็นผู้นำ (Leadership)

ทักษะนี้เกี่ยวข้องกับการควบคุมสถานการณ์และนำทางผู้อื่นไปสู่เป้าหมายร่วมกัน ความเป็นผู้นำเป็นทักษะที่ขาดไม่ได้ในทุกองค์กร

3.ทักษะการทำงานเป็นทีม (Teamwork)

การทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ร่วมกัน เป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสำเร็จ การทำงานเป็นทีมช่วยให้พนักงานพัฒนาความสัมพันธ์ และความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

4.ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving)

ปัญหาเฉพาะหน้ามักเกิดขึ้นในธุรกิจภาคบริการอยู่บ่อยๆ การแก้ปัญหา หมายถึง การระบุปัญหาและพัฒนาแนวทางแก้ไข เพื่อเอาชนะอุปสรรคได้เป็นอย่างดี จึงเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับพนักงานในภาคธุรกิจบริการ

5.ทักษะการตัดสินใจ (Decision making)

การตัดสินใจเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต จำเป็นต้องมีการตัดสินใจเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยเฉพาะธุรกิจภาคบริการ การตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อความพึงพอใจ และไม่พึงพอใจของลูกค้าเป็นอย่างมาก ดังนั้น พนักงานในภาาคธุรกิจนี้จึงจำเป็นต้องมีทักษะในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง

6.ทักษะแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Conflict resolution)

การแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างเพื่อนร่วมงาน และลูกค้า มีความสำคัญต่อบรรยากาศในการทำงาน หรือการรับบริการ ดังนั้นการแก้ไขข้อขัดแย้งที่ดีจะสร้างความไว้วางใจ และสร้างขวัญกำลังใจที่ดีต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

7.ทักษะการเจรจาต่อรอง (Negotiable)

การเจรจาต่อรองเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญของธุรกิจบริการ ผู้ที่มีทักษะการเจรจาต่อรองเป็นอย่างดี จะช่วยให้บรรลุข้อเจรจาตกลงได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง

8.ทักษะการจัดการตนเอง (Self-control)

การจัดการตัวเองเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุดในการทำงาน การจัดการตนเองหมายถึงการจัดการอารมณ์และพฤติกรรมของตัวคุณเอง เพราะถ้าหากทุกคนสามารถบริหารจัดการกับอารมณ์ตนเองได้ ก็จะไม่ส่งผลกระทบเสียหายต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

Soft skill ใน resume ควรมีอะไรบ้าง

การระบุทักษะในประวัติย่อ (Resme) ของคุณเป็นสิ่งสำคัญ ควรแน่ใจว่าได้ระบุ Soft skills ที่เหมาะสมลงไปในใบสมัครของคุณ ช่น ทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหา เป็นต้น

นอกจากนี้ประสบการณ์ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะคุณไม่สามารถพูดว่า “ฉันเป็นผู้นำที่ดี” โดยปราศจากหลักฐานสนับสนุนคำกล่าวอ้างนี้ได้

ต่อไปนี้คือ 3 วิธีในการเพิ่ม Soft skills ลองในประวัติย่อของคุณ เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน

1. ปรับแต่ง Soft skills ให้เหมาะสมกับลักษณะงานหรือองค์กร

ยิ่งทักษะของคุณมีความเจาะจงมากเท่าไหร่ในประวัติย่อ นายจ้างก็จะยิ่งเข้าใจมันได้ง่ายขึ้นเท่านั้น เพราะการระบุทักษะที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน หรือธุรกิจที่คุณกำลังสมัครงาน นั้นจะไม่ช่วยให้คุณได้รับการว่าจ้างอย่างแน่นอน

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังสมัครงานที่ร้านอาหาร คุณอาจไม่จำเป็นต้องมีทักษะในการเจรจาต่อรอง และการคิดสร้างสรรค์ เท่ากับทักษะการสื่อสาร ทักษะการมีใจบริการ และทักษะการทำงานเป็นทีม อย่างนี้เป็นต้น

คุณจำเป็นต้องปรับแต่งทักษะด้าน Soft skills ให้เข้ากับลักษณะงานเฉพาะ โดยนำรายละเอียดงานมาเป็นแนวทาง อ่านรายละเอียดงานและใส่ทักษะที่จำเป็นแต่ละข้อลงไปในประวัติย่อของคุณ ยกตัวอย่าง เช่น

สมมติว่าคุณกำลังสมัครงานใน ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย คุณสมบัติรวมถึง:

  • วุฒิปริญญาตรี สาขาธุรกิจ การตลาด นิเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
  • มีประสบการณ์ในการขาย 5 ปี
  • ทักษะการสื่อสาร พูดและเขียนได้ในระดับดี
  • สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
  • มีภาวะผู้นำ
  • มีประสบการณ์ในการตั้งเป้าการขาย

คุณก็แค่ระบุทักษะ 4 ด้าน จากรายละเอียดงาน ที่จะเป็นประโยชน์ต่องานลงไป ตามตัวอย่างด้านล่างนี้

  • Oral and written communication skills
  • Teamwork
  • Leadership
  • Goal-oriented

2. ระบุทักษะประสบการณ์ในอดีตเพื่อความได้เปรียบ

นอกจากจะระบุ Soft skills ที่เกี่ยวข้องกับงานหรือหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรงแล้ว คุณอาจจะระบุทักษะอื่นๆที่เป็นระโยชน์พร้อมยกตัวอย่างจากประสบการณ์สั้นๆ ให้เห็นด้วย เช่น

หากคุณกำลังสมัครงานที่ บริษัทเอเจนซี่โฆษณาแห่งหนึ่ง ในตำแหน่ง Creatvie Director จะระบุ Soft skills list ได้ดังนี้

  • Creativity
  • Leadership
  • Oral communication
  • Project management

สิ่งแรกคือระบุทักษะที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง ต่อจากนั้นให้ระบุทักษะสำรอง ที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ที่ทำให้ประสบความสำเร็จในอดีต เช่น หากคุณต้องการแสดงทักษะด้านการจัดการโครงการ (Project management) คุณสามารถเขียนในลักษณะนี้ คือ

“บริหารทีม 10 คนในการสร้างวิดีโอ YouTube ให้กับลูกค้าซึ่งทำให้รายได้ของลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่า $50,00 ภายในหนึ่งเดือน”

3. ระบุทักษะที่ใช้กับตำแหน่งงานอื่นๆได้แม้เปลี่ยนสายงาน

ทักษะที่แม้ว่าคุณจะเลือกเส้นทางอาชีพใหม่ แต่มันยังคงใช้ได้ดี เพราะ Soft skills ประเภทนี้ไม่ได้เฉพาะเจาะจงในสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่ยังมีประโยชน์สำหรับตำแหน่งงานใหม่ๆด้วย เช่น

สมมติว่าคุณลาออกจากงานในตำแหน่งนักข่าว และไปสมัครงานใหม่ ในตำแหน่งฝ่ายประชาสัมพันธ์ ซึ่งงานทั้งสองตำแหน่งนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับทักษะการสื่อสาร

ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถเพิ่มทักษะ Soft skills ที่เกี่ยวข้องที่คุณได้เรียนรู้ในฐานะนักข่าวลงในเรซูเม่ใหม่ของคุณได้ เพื่อแสดงว่าทักษะในตำแหน่งงานเก่า มีประโยชน์ต่อหน้าที่งานในตำแหน่งานใหม่ เช่น

  • Communication skills
  • Presentation skills
  • Interpersonal skills
  • Creativity

นี่คือ Soft skills ทั้งหมดที่คุณสามารถกรอกในประวัติย่อ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณสามารถรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี

Soft skills training ที่นิยม มีหลักสูตรอะไรบ้าง

ทักษะอนาคต หรือ Future skill ที่นิยมจัดหลักสูตรอบรม เพื่อพัฒนาทักษะให้กับพนักงานนั้น มีดังนี้

  • Growth Mindset
  • Business Mindset
  • Time management
  • Communication
  • Adaptability
  • Problem-solving
  • Teamwork skills
  • Creativity
  • Leadership
  • Interpersonal skills
  • Work ethic
  • Critical thinking
  • Analytical Thinking and Decision
  • Communication & Teamwork

สรุป

จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนั้น แม้เทคโนโลยีจะก้าวหน้ามากขึ้นเท่าใด Soft skills ยิ่งเป็นทักษะที่องค์กรต่างๆ ต้องการ ดังจะเห็นจากเวลารับสมัครงานในหลายๆองค์กร นอกจากจะมีแบบทดสอบด้านวิชาชีพ แบบทดสอบที่เกี่ยวข้องในงานโดยตรงแล้ว ยังจำเป็นต้องมีแบบทดสอบ Soft skills ให้ผู้สมัครทำด้วย เพื่อเป็นการคัดกรองบุคคลที่มีนิสัยดีๆ มีคุณลักษณะที่เหมาะสมเข้ามาร่วมงานกับองค์กร

แต่ถ้าพัฒนาตนเองไปจนเข้าใจโลกด้านในของตนเองเป็นอย่างดี เราจะเข้าใจว่าการพัฒนาทักษะต่างๆของตนเองนั้น ไม่ใช่แค่เพื่อตนเอง แต่เป็นการเติมเต็ม หรือช่วยแก้ไขปัญหาให้กับผู้อื่นด้วย

รวมบทความ

Soft skill

Productivity

คุณเบื่อไหมกับชีวิตการทำงานที่แสนวุ่นวาย แถมยังรู้สึกหมดไฟ (Burn out) ทั้งที่ใจจริงๆก็อยากพัฒนาตัวเอง. Slow Productivity คือทางออกในโลกยุคนี้ มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!

อ่านเพิ่มเติม
ปลดล็อคศักยภาพ

คุณพร้อมหรือยังที่จะปลดล็อคศักยภาพที่ซ่อนอยู่ และพลิกชีวิตไปสู่ความสำเร็จที่เหนือกว่า? Dr. Joe Dispenza นักประสาทวิทยาชื่อดัง ได้ค้นพบวิธีที่จะปลดล็อคจิตใจและสามารถเปลี่ยนแปลงชีววิทยาของเราได้อย่างน่าอัศจรรย์

อ่านเพิ่มเติม
การประเมิน 360 องศา

ตัวอย่างของคำถามที่ใช้ในการประเมิน 360 องศา หรือ 360 degree feedback ซึ่งประกับด้วยคำถามแบบปลายเปิดหรือแบบปิด ซึ่งมีผลต่อปริมาณหรือคุณภาพ

อ่านเพิ่มเติม
360 degree feedback

การประเมิน 360 องศา หรือ 360 degree feedback เป็นระบบประเมินที่องค์กรต่างๆนำมาใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกระบวนการพัฒนาระดับผู้นำ

อ่านเพิ่มเติม
Training plan

5 ขั้นตอนการทำโปรแกรมฝึกอบรม (Training Plan)แบบ step by step สำหรับ HRD มือใหม่หรือมืออาชีพ เมื่อทำออกมาจะกลายเป็น HRD Professional แน่นอน

อ่านเพิ่มเติม
e learning

Flow space รูปแบบการจัดกิจกรรมออนไลน์เสมือนจริง ที่ใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด ทำให้การทำ workshop เป็นเรื่องง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย และสร้างประสบการณ์ที่่น่าประทับใจได้อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม