Mindset คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อความสำเร็จ-ล้มเหลว, ความสุข-ทุกข์

อย่างที่ทุกคนทราบว่า Mindset นั้น เป็นหนึ่งใน Soft skill แต่เคยสงสัยไหมว่าคนที่ประสบความสำเร็จนั้นมีอะไรที่แตกต่างจากคนอื่น? แน่นอนมันไม่ได้เกิดจากความสามารถหรือโชคลาภเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของความคิด วิธีคิด ที่เรามองไม่เห็น สิ่งนี้ส่งผล มหาศาลต่อการกระทำ การตัดสินใจ และความสำเร็จโดยรวม ตรงกันข้ามคนที่ไม่มีความสุข ล้มเหลว ก็มักจะมีกรอบความคิดที่ตรงกันข้ามกับคนกลุ่มแรก

ดังนั้น Mindset เป็นเหมือนดังสิ่งที่กุมโชคชะตาของตัวเราไว้ได้เลย เพราะชุดความคิดนี้จะเป็นตัวตัดสินว่าเราจะลงมือทำ หรือไม่ทำอะไร เช่น โลกเปลี่ยนต้องเร่งพัฒนาทักษะอนาคต (Future skill) เป็นการด่วนเพื่อให้สอดรับกับโลกยุคเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) แต่ Mindset เราตรงกันข้าง การดำเนินชีวิตก็จะลำบากอย่างแน่นอน

Mindset คืออะไร

Mindset (มายเซต) คือ กรอบความคิด หรือชุดความคิด ที่เกิดจากความเชื่อ ประสบการณ์ แล้วส่งผลแสดงออกมาในรูปแบบของพฤติกรรมของแต่ละบุคคล ทำให้มีทัศนคติ บุคลิก พฤติกรรม การตัดสินใจ วิถีชีวิต และความสำเร็จที่แตกต่างกันออกไป

Mindset

Mindset สำคัญอย่างไร

Mindset มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อคนเรา ซึ่งกรอบความคิดนั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนเรา เป็นตัวกำหนดทิศทางในการกระทำของเราได้ เพราะจะส่งผลต่อทัศนคติ (Attitude) และการกระทำ (Action) เป็นลำดับๆ ดังนี้

ดังนั้น จุดเริ่มต้นของชีวิต จึงจำเป็นต้องพัฒนา Mindset กรอบความคิด หรือชุดความคิด ให้ถูกต้องเป็นสิ่งแรก เพื่อจะได้ให้การดำเนินชีวิตมีความปกติ ที่จะเอื้อต่อการประสบความสำเร็จ และมีความสุขในชีวิตประจำวัน

Mindset มีอะไรบ้าง

ในหนังสือ “Mindset” ของนักจิตวิทยาชื่อดัง Stanford Carol Dweck ที่เป็นนักจิตวิทยาด้านมายเซต (Mindset Psychology) กล่าวว่า

“ไม่ใช่ความฉลาด ความสามารถ หรือการศึกษาที่ทำให้คนเราประสบความสำเร็จแตกต่างกันออกไป แต่เป็นกรอบความคิดต่างหาก ที่ส่งผลต่อวิธีจัดการกับความท้าทายที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของแต่ละบุคคล”

ซึ่ง Carol Dweck เจ้าของทฤษฏี ได้แบ่ง Mindset ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. Growth Mindset
  2. Fixed Mindset

1.Growth Mindset คืออะไร

Growth Mindset คือ การมีกรอบความคิดที่เชื่อว่า การพยายามอย่างหนัก ความพากเพียร และความมุ่งมั่น นั้นสามารถปรับปรุงและพัฒนาตัวเองได้

ตามที่นักประสาทวิทยา Gilbert Gottlieb ยืนยันว่า ความฉลาดถูกกำหนดโดยการผสมผสานของยีนและสิ่งแวดล้อม และสภาพแวดล้อมนั้น มีอิทธิพลต่อการกระตุ้นยีนในช่วงชีวิตของคนเรา ไม่ว่าบุคลิกภาพขจะถูกกำหนดโดยธรรมชาติ หรือการเลี้ยงดูนั้น ยังคงเป็นข้อที่ถกเถียงกันอย่างหนัก

แต่สำหรับ Dweck เชื่อว่าคนเราสามารถพัฒนาทักษะ ความสามารถ พรสวรรค์ และแม้แต่สติปัญญาของตัวเราเองผ่านประสบการณ์ การฝึกฝน และความพยายามได้

คำติชมและข้อผิดพลาดช่วยให้เราเรียนรู้จากสิ่งเหล่านั้น และปรับปรุงให้ได้ดีขึ้น Dweck เรียกสิ่งนี้ว่าการมีส่วนร่วมอย่างมีจุดมุ่งหมาย

ในการวิจัยของ Dweck ได้สร้างทฤษฎี neuroplasticity ซึ่งเป็นความสามารถของสมองในการสร้างการเชื่อมต่อใหม่ไปสู่วัยผู้ใหญ่หลังจากที่ได้รับความเสียหาย หรือเมื่อถูกกระตุ้นโดยประสบการณ์ใหม่ๆ สิ่งนี้สนับสนุนแนวคิดที่ว่า คุณสามารถใช้กรอบความคิดแบบ Growth Mindset ได้ตลอดเวลาในทุกช่วงของชีวิต แม้คุณอาจจะไม่ใช่ Thomas Edison แต่กรอบความคิดแบบเติบโตนี้จะสามารถช่วยให้เราตระหนักถึงศักยภาพของตนเองผ่านการเรียนรู้และฝึกฝน

นี่คือเหตุผลที่ Carol Dweck กล่าวว่าการชื่นชมเมื่อมีคนทำได้ดีนั้น จะช่วยเสริมสร้างทัศนคติที่มุ่งมั่นได้เป็นอย่างดี จะกระตุ้นให้ลงมือทำเพื่อความสำเร็จในอนาคตต่อไป การชมเชยผลลัพธ์ทำให้ผู้คนรู้สึกดีกับตัวเอง

Growth mindset

2.Fixed Mindset คืออะไร

Fixed Mindset คือ การมีกรอบความคิดที่เชื่อว่า ความฉลาด ความสามารถ และพรสวรรค์อื่นๆ เป็นเรื่องของโชคชะตากำหนดไว้ และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

หากคุณมี Mindset แบบนี้ คุณอาจจะรู้สึกว่าคุณไม่ฉลาด หรือมีความสามารถมากพอที่จะบรรลุเป้าหมายได้ โดยเลือกทำเฉพาะสิ่งที่คิดว่าตนเองถนัด และทำได้ดีเท่านั้น

ที่แย่ไปกว่านั้น บุคคลที่มี Mindset แบบนี้ อาจกลัวว่าความสำเร็จของสมาชิกในทีมจะเกินความสามารถของตนเอง หรือกังวลว่าคนอื่นจะสังเกตเห็นว่าเขาขาดทักษะ ดังนั้นเขาอาจพยายามกีดกัน ป้องกันไม่ให้สมาชิกในทีมได้มีโอกาสพัฒนาทักษะใหม่ๆ โดยพยายามปิดกั้นโอกาสไม่ให้ทีมได้ก้าวหน้าในอาชีพ

Dweck และทีมวิจัยของเขา ได้ศึกษาสมองของบุคคลที่มี Mindset ทั้ง 2 โดยผู้ที่มีความเชื่อแบบ Growth Mindset เชื่อว่าพวกเขาสามารถเติบโตได้ด้วยความพยายามและการฝึกฝน พวกเขาคิดว่าพวกเขาสามารถทำอะไรได้ดีกว่านี้ ถ้าพวกเขาพยายามมากพอ

ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่มีกรอบความคิดแบบ Fixed Mindset เชื่อว่าความสามารถนั้นถูกกำหนดไว้ตั้งแต่อายุยังน้อย และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อถามถึงความสามารถของพวกเขา ทั้งสองกลุ่มตอบสนองต่างกัน ผู้ที่มีกรอบความคิดแบบ Growth Mindset จะรู้สึกดีเมื่อพวกเขาได้รับคำชมสำหรับความพยายามของพวกเขา ในขณะที่ผู้ที่มีกรอบความคิดแบบ Fixed Mindset กลับไม่รู้สึกเช่นนั้น

Fixed mindset

Mindset กับ Attitude ต่างกันอย่างไร

Mindset คือชุดความคิด ส่วน Attitude คือทัศนคติ ทั้งสองคำนี้มีส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน เปรียบเทียบให้เห็นภาพ คือ เมื่อรับรู้ หรือมีประสบการณ์ต่อเรื่องต่างๆ ก็จะถูกสะสมเป็นชุดความคิด เมื่อหลายๆชุดความคิดเกิดขึ้นซ้ำๆ ทำให้เกิดความเชื่อขึ้น จนกลายเป็นทัศนคติ จากนั้นจึงแสดงออกทางพฤติกรรม จนกลายเป็นนิสัยหรือบุคลิกภาพต่อไป

Attitude

4 วิธีพัฒนา Mindset

วิธีพัฒนา Mindset นั้น Carol Dweck เจ้าของทฤษฎีกรอบความคิดนี้ มีขั้นตอนง่ายๆ ที่จะช่วยให้เปลี่ยนวิธีคิดใหม่ได้ 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ฟังเสียงภายในของตนเอง (Listen to yourself)

ตั้งใจฟังเสียงความคิดของคุณ ความคิดนั้นช่วยให้คุณก้าวไปสู่เป้าหมายหรือไม่? หรือกำลังฉุดรั้งคุณไว้? ความคิดนั้นกำลังวิจารณ์ตัวเองอยู่หรือเปล่า? สมองของคุณกำลังบอกคุณว่าคุณไม่ดีพอ ไม่ฉลาดพอ ไม่เก่งพอ ไม่สวยพอ ไม่ผอมพอ ไม่รวยพอ หรือประสบความสำเร็จไม่พอ?

ถ้าเป็นเช่นนั้น คุณอาจติดอยู่ในร่องของความคิดแบบ Fixed Mindset คุณอาจกลัวที่จะลองอะไรใหม่ๆ เพราะกลัวว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ถ้าคุณสามารถเปลี่ยนมุมมองของคุณได้ล่ะ? จะเป็นอย่างไรถ้าคุณได้ยินเสียงวิจารณ์ในตัวคุณแทนที่จะปล่อยให้เขาทำไปอัตโนมัติแบบธรรมชาติตามความเคยชิน

ขั้นตอนที่ 2 ตระหนักว่ามีทางเลือกเสมอ (Recognize that you have a choice)

ตระหนักดีว่า ทุกคนต้องเผชิญกับอุปสรรค ความท้าทาย และความพ่ายแพ้ในช่วงชีวิตกันทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ที่สำคัญคือ แต่ละคนนั้นมีวิธีการตอบสนองต่อสถานการณ์เหล่านั้นแตกต่างกัน จึงประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวแตกต่างกัน

หากคุณมีทัศนคติคิดว่า “ฉันไม่ดี” คุณอาจรู้สึกแย่กับตัวเอง และบั่นทอนขีดความสามารถของคุณอยู่ตลอดเวลา ในทางกลับกัน หากคุณมองว่าอุปสรรคต่างๆที่ผ่านเข้ามาแต่ละครั้งนนั้น เป็นโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ คุณก็จะสามารถเริ่มพัฒนาตนเอง เปลี่ยนแปลงตนเองได้ ทำให้คุณต้องพยายามมากขึ้นในครั้งต่อไป โดยหาวิธีทำงานอย่างชาญฉลาดมากขึ้น หรืออาจเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ๆเพื่อให้ประสบความสำเร็จ

ขั้นตอนที่ 3 ท้าทายความคิดแบบ Fixed mindset

เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทาย และได้ยินเสียงความคิดว่า “ฉันไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร” หรือ “ฉันไม่คิดว่าฉันจะทำสิ่งนี้ได้” จำไว้ว่าคุณสามารถมีทักษะเพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายได้เหมือนคนอื่นๆ แม้คุณอาจจะไม่ประสบความสำเร็จในครั้งแรก แต่การฝึกฝนทำซ้ำบ่อยๆ จะช่วยให้คุณพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของคุณ

ถ้าเป็นแนวปฏิบัติจากผู้เขียนเอง ขั้นตอนนี้ คือ การกระทำตรงข้ามกับเสียงขัดขวางภายในใจ ให้เราก้าวข้ามเสียงนั้น ด้วยการลงมือทำในสิ่งตรงกันข้าม เช่น เสียงในหัวบอกว่า “อย่าเลย ยังไม่ต้องทำ ขอพักก่อน” เมื่อได้ยินเสียงขึ้นภายในหัว ก็จะรีบลงมือทำทันที เพื่อไม่ทำตามเสียงขัดขวางนั้น เมื่อทำแบบนี้บ่อยๆ เราจะมีพลังชีวิต หรือกำลังใจที่แน่วแน่เป็นอย่างมาก

ขั้นตอนที่ 4 ลงมือทำ (Take action)

เมื่อคุณฝึกฝนการให้มีสติเท่าทันในการคิดและการกระทำแล้ว การลงมือทำจะเป็นการรับมือกับอุปสรรคในทางบวก และต่อไปจะกลายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เช่นเดียวกับการเล่นดนตรีก็ต้องมีการฝึกฝน การเล่นกีฬาก็เช่นเดียวกัน ต้องมีการฝึกบ่อยๆซ้ำๆ ถึงจะเก่งขึ้น

การรับมือกับความท้าทายของชีวิตก็เช่นเดียวกัน เมื่อพบกับเรื่องยากๆผ่านเข้ามาในชีวิต ก็ย่อมฝึกฝนให้เราได้เก่งขึ้นนั่นเอง

Mindset แปลว่าอะไรในพุทธศาสนา

Mindset ในทางพุทธศาสนา ตรงกับคำว่า ทิฐิ (ทิฏฐิ ในภาษาบาลี) แปลว่า “การเห็น” ซึ่งการเห็นนั้นไม่ใช่การมองเห็นด้วยสายตา แต่เป็นการเห็นด้วยกรอบความคิด หรือชุดความคิด ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ทิฐิ คือ

  1. สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นถูก (Growth Mindset)
  2. มิจฉาทิฐิ คือ ความเห็นผิด (Fixed Mindset)
  3. ทิฐิวิสุทธิ คือ การเห็นโลกเป็นไปตามความเป็นจริง

ซึ่งในบทความนี้จะขยายเรื่อง Mindset “กรอบความคิด” ในแง่มุมทางพุทธศาสนา และแนวทางการพัฒนากรอบความคิดในรูปแบบวิปัสสนา เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจต่อไป

วิธีพัฒนา Mindset แบบพุทธ

แนวทางการพัฒนา Mindset แบบพุทธ อาจมีความแตกต่างจากสายจิตวิทยาอยู่ที่เป้าหมาย เพราะแนวทางของพุทธนั้นเน้นให้ถึงการดับทุกข์ ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก ส่วนของจิตวิทยาจะเน้นการพัฒนา Mindset เพื่อให้ชีวิตมีความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิตเท่านั้น และแนวทางการปฏิบัติอาจจะแตกต่างจากแนวทางของพุทธเป็นอย่างมาก เพราะเครื่องมือในการพัฒนา Mindset แบบพุทธจะเน้นที่การมี “สติ” หรือการเจริญสติให้ต่อเนื่อง แต่ก็อาจเทียบเคียงกับ Mindset แบบจิตวิทยาโดยแบ่งได้ ดังนี้

ซึ่งในบทความนี้ ผู้เขียนจะนำตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติตามวิธีที่หลวงพ่อสำราญ ธมฺมธุโร หรือหลวงพ่อกล้วย แห่งวัดป่าธรรมอุทยาน จ.ขอนแก่น ที่ท่านได้เมตตาสอนผู้เขียนเอง มาสรุปเป็นแนวทางสั้นๆ เพื่อได้เห็นแนวทางของกาารพัฒนา Mindset แบบพุทธพอให้ได้เข้าใจ ดังนี้

ก่อนที่จะพัฒนา Mindset ได้นั้น ให้เข้าใจเรื่องของความคิดกันชัดๆก่อนว่าความคิดไหนควรพัฒนาต่อยอด หรือความคิดไหนควรดับทิ้ง ซึ่งมีอยู่ 3 ความคิด โดยใช้การเจริญสติ เข้าไปดู เข้าไปจัดการในแต่ละความคิด

  1. ความคิดที่เกิดจากสมอง
  2. ความคิดที่ไม่ตั้งใจคิด
  3. ความคิดที่เกิดจากตัวจิต

1.ความคิดที่เกิดจากสมอง

อันนี้เป็นความคิดที่มนุษย์ทุกคนต้องมี ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ ความคิดที่เกิดจากสมองยังคงทำงานไปตามปกติ แต่ท่านให้ใช้วิธีการ คือ ให้คิดแต่สิ่งที่ดี สิ่งที่เป็น “กุศล” เท่านั้น ความคิดที่ไม่ดี ความคิดแบบอกุศล คิดลบต่างๆ ให้ดับทิ้ง ให้หยุดคิด แล้วสมองของเราก็จะได้พัก และประหยัดสมองไปในตัว

2.ความคิดที่ไม่ตั้งใจคิด

ความคิดที่ไม่ตั้งใจคิด คือความคิดจร ที่ผุดๆเข้ามาในหัว ท่านให้ตามดู ตามรู้ จนเห็นว่าไม่มีสาระประโยชน์อะไร จนเห็นวงจรของมันคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นตามกฎของไตรลักษณ์ ถ้าเห็นไตรลักษณ์ ปัญญาก็จะเกิด

3.ความคิดที่เกิดจากตัวจิต

ความคิดที่เกิดจากจิต คือความคิดที่เจือปนจนเกิดเป็นอารมณ์ ความรู้สึก อคติต่างๆ ความคิดตัวนี้ท่านให้ดับทิ้ง ไม่ปล่อยให้มันมีกำลังเกิดต่อ

ทีนี้แนวทางในการพัฒนา Mindset แบบพุทธ ก็คือให้เราเจริญสติ ระลึกรู้อยู่กับปัจจุบัน ให้เท่าทันความคิด ไม่ปล่อยให้ความคิดมาปรุงแต่งจิตให้เป็นอารมณ์ต่างๆ เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ และพัฒนาขึ้นความคิดกับจิตจะอยู่คนละส่วนกัน ผลลัพธ์ที่ได้คือ บุคคลที่พัฒนา Mindset แบบพุทธแล้วนั้น จะเป็นผู้ที่ คิด พูด ทำ แต่สิ่งที่ดี เมื่อการดำเนินชีวิตประกอบไปด้วย คิดดี พูดดี ทำดี ชีวิตก็จะมีความสุข มีความก้าวหน้า อย่างแท้จริง

สรุป

Mindset มีส่วนสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนเราเป็นอย่างมาก ดังนั้น การจะทำให้ชีวิตมีความสุข หรือประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ ล้วนก่อเกิดจาก Mindset เป็นสำคัญ

รวมบทความ

Mindset

ปลดล็อคศักยภาพ

คุณพร้อมหรือยังที่จะปลดล็อคศักยภาพที่ซ่อนอยู่ และพลิกชีวิตไปสู่ความสำเร็จที่เหนือกว่า? Dr. Joe Dispenza นักประสาทวิทยาชื่อดัง ได้ค้นพบวิธีที่จะปลดล็อคจิตใจและสามารถเปลี่ยนแปลงชีววิทยาของเราได้อย่างน่าอัศจรรย์

อ่านเพิ่มเติม
แรงจูงใจ

Motivation คือจิตวิทยาที่ควบคุมหรือกระตุ้นพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งในอดีตมักใช้แรงจูงใจเชิงลบ เช่น การขู่ กดดันให้กลัว ซึ่งมักไม่ได้ผลและไม่ยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม
mindmap

Mindmap ง่ายๆ 2 นาที โดยใช้คำสั่งใน chatgpt เขียน mindmap จากนั้นนำ markdown ไปวางในเว็บทำ mind map ออนไลน์ หรืออาจจะเป็น…

อ่านเพิ่มเติม
Mind map สวยๆ

5 โปรแกรมสร้าง Mind Map สวยๆ สำหรับ Project Management นอกจากนี้ยังนิยมนำ มายแมพ ไปใช้งานอื่นๆ เช่น ระดมสมอง วางแผนงาน หรือจัดระเบียบงาน

อ่านเพิ่มเติม
life balance

ในช่วงวิกฤติโควิด-19 ที่ผ่านมากว่า 2 ปี ได้บริษัทส่วนใหญ่จะให้พนักงานทำงานอยู่ที่บ้าน (Work from Home) หรืออาจจะจัดกะการเข้าสำนักงานเป็น 2 กลุ่ม A, B เพื่อสลับวันทำงาน ลดจำนวนความแออัดของพนักงานลง

อ่านเพิ่มเติม
เก่งไปทำไม

ทักษะหรือความเก่งที่เรามีนั้น หาใช่มีเพื่อประโยชน์ของตนเองไม่ แต่แท้จริงแล้ว มีไว้เพื่อแก้ปัญหา หรือสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่น

อ่านเพิ่มเติม