หลักคิดและตัวอย่างคําถามการประเมิน 360 องศา (360-degree feedback)

ตัวอย่างของคำถามที่ใช้ในการประเมิน 360 องศา หรือ 360 degree feedback ซึ่งประกับด้วยคำถามแบบปลายเปิดหรือแบบปิด ซึ่งมีผลต่อปริมาณหรือคุณภาพ

Reading Time: 0 min.

การประเมิน 360 องศา

หลายท่านอาจจะมีประสบการณ์เกี่ยวกับความไม่สบายใจ จากการประเมินผลงานประจำปี ที่ถูกเรียกเข้าไปพบหัวหน้าเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับข้อบกพร่องของเรา ซึ่งเป็นเพียงความเห็นของหัวหน้างานคนเดียว ไม่ใช่สิ่งที่คนส่วนใหญ่มอง ซึ่งทำให้อึดอัดและไม่สบายใจไม่น้อย

ด้วยการประเมินผลงานแบบเก่า เป็นการประเมินทางเดียว และสื่อสารแบบทางเดียว จึงได้เกิดระบบประเมินแบบใหม่ขึ้นมา ที่เรียกว่า การประเมิน 360 องศา (360-Degree feedback) ซึ่งได้เขียนบทความไว้ก่อนหน้า “คู่มือการประเมิน 360 องศา ฉบับครอบคลุมเข้าใจง่าย”

ดังนั้นในบทความนี้ จึงจะเน้นถึงหลักคิดและตัวอย่างคำถามการประเมิน 360 องศานี้ ว่ามีแนวทางอย่างไรบ้าง

การประเมิน 360 องศาคืออะไร

การประเมิน 360 องศา หรือบางครั้งเรียกว่าข้อมูลย้อนกลับ 360 องศา (360-Degree feedback) คือการให้ข้อมูลย้อนกลับไปที่พนักงานผู้ถูกประเมิน จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย โดยส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน แหล่งข้อมูลเหล่านี้มักจะได้แก่ เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน ผู้ใต้บังคับบัญชา ลูกค้าหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง

โดยปกติแล้ว การประเมินผลงาน (Performance Management) มักจะทำในลักษณะ “บนลงล่าง” คือหัวหน้างานเป็นผู้ประเมินเพียงฝ่ายเดียว จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆมากมาย ดังที่เขียนไว้ก่อนหน้าว่า “ทำไมระบบวัดและการประเมินผลงานประจำปีส่วนใหญ่ถึงล้มเหลว?”

จึงทำให้มีการคิดระบบการประเมินผลงานแบบ 360 องศา ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้มีการประเมินในทุกๆแง่มุม รอบด้านมากขึ้นกว่าเดิม

ซึ่งเริ่มจากพนักงานจะต้องทําแบบสอบถามการประเมินตนเอง (Self) จากนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามอีกประมาณ 6 ถึง 10 คน จะต้องทําแบบสอบถามเกี่ยวกับพนักงานคนนั้นด้วยเช่นกัน เป้าหมายคือเพื่อให้พนักงานได้มุมมองที่ครอบคลุมเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของตนเอง จากข้อมูลย้อนกลับของทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับพวกเขา

ประโยชน์ของการประเมิน 360 องศามีอะไรบ้าง

การประเมิน 360 องศา นี้มีประโยชน์มากกว่าการประเมินแบบเดิมๆ ดังนี้

  • เพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง
  • ช่วยให้การประเมินที่มีความเป็นกลางและครอบคลุมมากขึ้น
  • ลดความลําเอียง ส่งเสริมความเท่าเทียมและการมีส่วนร่วม
  • สร้างวัฒนธรรมการทํางานที่เปิดเผยและเชื่อใจกันมากขึ้น
  • ได้มุมมองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานที่หลากหลายขึ้น

การประเมิน 360 องศา เริ่มนํามาใช้เมื่อไหร่

แม้ว่ารูปแบบการประเมิน 360 องศานี้อาจดูทันสมัย แต่ในความเป็นจริงแล้วการประเมิน 360 องศา ที่ได้ข้อมูลจากหลายแหล่งนั้นมีมากว่า 100 ปีแล้ว ซึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพอเมริกันได้นําระบบการประเมิน 360 องศา มาใช้กับทหาร แต่ส่วนนี้ก็ยังขาดข้อมูลจากผู้ใต้บังคับบัญชา

พอในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพเยอรมันเริ่มใช้การประเมิน 360 องศาอย่างจริงจัง โดยพวกเขาจะประเมินผลการปฏิบัติงานของทหาร ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนกลับจากผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นต้น

ไม่นานหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบการประเมิน 360 องศา ก็เริ่มแพร่หลาย และเข้าสู่ตลาดแรงงาน ในช่วงปี 1950 กลุ่มงานวิจัยและวิศวกรรมของ Esso เป็นบริษัทแรกที่ใช้การประเมิน 360 องศาในการประเมินพนักงาน เนื่องจากประสบความสําเร็จอย่างมากในการนำมาใช้ จึงเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายตั้งแต่นั้นมา

ตัวอย่างคำถาม 360

ตัวอย่างคําถามสําหรับการประเมิน 360 องศา

เมื่อเริ่มลงมือออกแบบเพื่อทำแบบการประเมิน 360 องศา ก็มักจะมีความคิดแทรกว่า ควรตั้งคำถามแบบปลายเปิด หรือปลายปิดดี หรือผสมผสานทั้งสองแบบ เพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งตรงนี้ ต้องไปพิจารณาปรับใช้ให้เหมาะสมเอาเอง

ตัวอย่างคําถามปลายปิดสําหรับการประเมิน 360 องศา

ให้ผู้ตอบใช้มาตรวัดตั้งแต่ “ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง” จนถึง “เห็นด้วยอย่างยิ่ง” เพื่อตอบคําถามต่อไปนี้

  1. บุคคลนี้แสดงถึงทักษะผู้นําที่แข็งแกร่ง
  2. บุคคลนี้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
  3. บุคคลนี้ส่งงานตรงตามกําหนดเวลา
  4. บุคคลนี้สื่อสารได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ
  5. บุคคลนี้มีความน่าเชื่อถือ
  6. บุคคลนี้ให้เกียรติผู้อื่น
  7. บุคคลนี้เป็นผู้ฟังที่ดี
  8. บุคคลนี้เปิดรับข้อมูลย้อนกลับ/นำไปปรับปรุง
  9. บุคคลนี้ทํางานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
  10. บุคคลนี้เป็นผู้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างคําถามปลายเปิดสําหรับการประเมิน 360 องศา

  1. สิ่งหนึ่งที่บุคคลนี้ทําได้ดีเยี่ยมคืออะไร
  2. เรื่องใดบ้างที่บุคคลนี้สามารถปรับปรุงได้
  3. บุคคลนี้ควรเริ่มทํา ทําต่อเนื่อง และหยุดทําอะไรบ้าง
  4. ด้านใดหรือทักษะใดที่บุคคลนี้สามารถพัฒนาได้
  5. คุณจะอธิบายบุคคลนี้ด้วยคํา 3-5 คําสั้นๆ ว่าอย่างไร
  6. บุคคลนี้ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของงานหรือการแก้ไขในนาทีสุดท้ายได้ดีเพียงใด
  7. บุคคลนี้เสนอมุมมองที่มีคุณค่าในระหว่างการประชุมและการทํางานร่วมกันหรือไม่
  8. บุคคลนี้นําสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนใครมาสู่ทีมอย่างไร
  9. บุคคลนี้มีส่วนช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรอย่างไร
  10. มีอะไรบ้างที่คุณอยากเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการทํางานร่วมกับท่านนี้

ตัวอย่างการประเมิน 360 องศา สําหรับเพื่อนร่วมงาน

ข้อมูลย้อนกลับเชิงบวกจากเพื่อนร่วมงาน

หากไม่แน่ใจว่าจะตั้งคำถามอย่างไรกับเพื่อนร่วมงานบ้าง? นี่คือตัวอย่างบางส่วนที่อาจช่วยคุณได้

  1. บุคคลนี้เก่งมากในการเข้าใจว่าต้องทําอะไร และการจัดแผนปฏิบัติการ
  2. บุคคลนี้พูดจาด้วยความมั่นใจ -รู้สึกไว้วางใจได้เมื่อเขาอยู่ในตําแหน่งผู้นํา
  3. บุคคลนี้ทําให้แน่ใจว่าเขารับฟังทุกคน แม้ว่าจะมีหลายเสียงในห้องประชุม แต่เขาไม่เคยมองข้าม
  4. บุคคลนี้สื่อสารความคิดของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก เขาใจเย็นและคิดก่อนพูด
  5. ฉันคิดว่าบุคคลนี้มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้นําที่เข้มแข็ง เขามีความมั่นใจ ชัดเจน เข้าใจ และยืดหยุ่น

ข้อมูลย้อนกลับจากเพื่อนร่วมงานที่ต้องพัฒนา

  1. ฉันคิดว่าบุคคลนี้อาจจะต้องชัดเจนเรื่องการสื่อสาร บางครั้งฉันไม่แน่ใจว่าเขาต้องการอะไร และต้องการเมื่อไหร่
  2. บุคคลนี้ควรให้การยอมรับเพื่อนร่วมงานมากขึ้น บางครั้งรู้สึกเหมือนว่าเขาไม่ให้คุณค่าเมื่อคนอื่นพยายามช่วยเหลือเขา
  3. บุคคลนี้ทํางานได้ดี แต่บางครั้งต้องเตือนบ้างในรายละเอียด/กําหนดเวลา ทําให้รู้สึกไม่น่าเชื่อถือเท่าไหร่
  4. บุคคลนี้ไม่ค่อยเปิดรับวิธีการทํางานของผู้อื่น บางครั้งรู้สึกเหมือนต้องการให้ทําอย่างเดียวกับที่เขาต้องการเท่านั้น
  5. บุคคลนี้บางครั้งมีปัญหาในการจัดลําดับความสําคัญของงาน
  6. บุคคลนี้บางครั้งเข้าถึงได้ยาก รู้สึกเหมือนว่าฉันรบกวนเขาด้วยคําถาม/ความคิดเห็นของฉัน
  7. บางครั้ง บุคคลนี้ดูเหมือนสนใจเรื่องนอกเหนือจากงาน เช่น การใช้โทรศัพท์ส่วนตัวมากเกินไป การใช้สื่อสังคมออนไลน์ การช้อปปิ้งออนไลน์ เป็นต้น
  8. ฉันคิดว่าบุคคลนี้สามารถปรับปรุงได้โดยการเรียนรู้ที่จะคิดเชิงกลยุทธ์ระยะยาวมากขึ้น บางครั้งรู้สึกเหมือนกับว่าการตัดสินใจของเขาเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นๆ
  9. ฉันสังเกตุเห็นว่าบุคคลนี้ควรมีความมั่นใจในงานของตัวเอง เขามีความคิดที่ยอดเยี่ยม และความมั่นใจอาจช่วยให้คนอื่นสนับสนุนเขามากขึ้น
  10. บุคคลนี้บางครั้งชอบละเลยกับงานที่ยุ่งยาก ซึ่งอาจทําให้คนอื่นๆทำงานยากลําบากในภายหลัง
สรุปผลในภาพรวม

ตัวอย่างวิธีการประเมิน 360 องศา ระดับหัวหน้างาน

เป็นธรรมดาการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้บังคับบัญชานั้นค่อนข้างลําบากใจ อาจมีบางสิ่งที่คุณอยากให้หัวหน้าของคุณปรับปรุง แต่การบอกพวกเขาอาจทําให้คุณตกอยู่ในสายตาที่ไม่ดีของพวกเขาก็ได้

เพื่อช่วยให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เลยต้องมีกฎและแนวทางบางประการ เพื่อทําให้การประเมิน 360 องศา ระดับหัวหน้าเป็นไปได้ไม่ยาก

1. แบ่งข้อมูลย้อนกลับออกเป็นไม่กี่หมวดหมู่

ที่ควรพิจารณา ได้แก่:

  • ทักษะผู้นํา (Leadership) – หัวหน้าของคุณสื่อสารเป้าหมาย จูงใจ เป็นแบบอย่าง และเป็นส่วนหนึ่งของทีมได้ดีเพียงใด
  • ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving) – พิจารณาว่าหัวหน้าของคุณแก้ไขปัญหา ระดมสมอง ทํางานร่วมกัน และรับผิดชอบได้ดีเพียงใด
  • การมีส่วนร่วมของพนักงาน (Employee Engagement) – คิดถึงว่าหัวหน้าของคุณสร้างความไว้วางใจ รับฟังและสนับสนุนพนักงาน เข้าถึง/พร้อมให้ความช่วยเหลือได้ดีเพียงใด และเอาใจใส่ทีมในฐานะมนุษย์ที่มีคุุณค่า (ไม่ใช่แค่พนักงาน)

2. หลีกเลี่ยงการพูดในลักษณะสุดโต่ง

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพช่วยแก้ไขปัญหาที่แท้จริงได้ ดังนั้น บางครั้ง อาจจะรู้สึกเหมือนหัวหน้าไม่ฟังความคิดเห็นของคุณ แต่ในความเป็นจริงหัวหน้าของคุณอาจได้ยินและพิจารณาความคิดเห็นของคุณ แต่พวกเขาอาจขาดทักษะการฟังอย่างตั้งใจ จึงต้องใช้ศิลปะในการสื่อสารใหม่ เช่น

แทนที่จะพูดว่า “คุณไม่เคยฟังความคิดเห็นของฉันเลย” ก็ให้ลองปรับมาพูดให้นุ่มนวลว่า “บางครั้งรู้สึกเหมือนความคิดเห็นของฉันอาจไม่ได้รับการพิจารณา ฉันอยากเรียนรู้ว่าทําไมมันจึงไม่มีประโยชน์ ช่วยชี้แนะด้วย เพื่อที่ฉันจะได้ปรับปรุงต่อไป”

3. เป็นกลาง มีความเห็นอกเห็นใจ และเน้นที่วิธีแก้ไข

แม้ว่าจะไม่ง่ายเสมอไป แต่การเป็นกลางนั้นสําคัญสําหรับการประเมิน คุณอาจจะไม่่ชอบหัวหน้าของคุณมาก แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่มีจุดที่สามารถปรับปรุงได้ (และแม้ว่าคุณจะไม่ชอบใครบางคน พวกเขาก็อาจทําบางสิ่งได้ดี)

ลองวางความรู้สึกของคุณต่อตัวบุคคลนั้นไว้ แล้วเน้นไปที่การกระทําของพวกเขา สิ่งที่เขาทําเพื่อทีมคืออะไร อะไรที่ไม่ทำเพื่อทีม เพราะอะไร

จากนั้น เขียนคําตอบของคุณโดยระลึกว่าหัวหน้าของคุณก็ยังคงเป็นมนุษย์ ไม่มีใครทนต่อคําพูดรุนแรงหรือไม่ดีได้ ดังนั้น จงมุ่งมั่นให้ข้อมูลย้อนกลับของคุณแบบสร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์ต่อหัวหน้าและทีมของคุณ

แพลตฟอร์มการประเมิน 360 องศา

สำหรับการเก็บข้อมูลนั้น วิธีที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย แนะนำให้ใช้ระบบประเมินออนไลน์ ซึ่งง่ายสุดก็ใช้ google form แต่ถ้าหากต้องการได้แบบประเมินที่ดูดี และเลือกภาษาได้ (ในตัวอย่างเลือกได้ Eng-Thai) ทางเรามีบริการจัดทำแบบสำรวจข้อมูลออนไลน์ที่ทันสมัย และเป็น Mibile friendly ซึ่งเหมาะกับการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนมาก สามารถคลิกดูตัวอย่างได้จากรูปหรือลิงค์ด้านล่างนี้

360 degree feedback example

ตัวอย่างแบบประเมิน 360 องศา

บทความนี้เรียบเรียงเนื้อหาใหม่จากบทความนี้

Related posts

360 degree feedback

คู่มือการประเมิน 360 องศา (360 Degree feedback) ฉบับครอบคลุมเข้าใจง่าย

Reading Time: 0 min.

การประเมิน 360 องศา หรือ 360 degree feedback เป็นระบบประเมินที่องค์กรต่างๆนำมาใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกระบวนการพัฒนาระดับผู้นำ

อ่านเพิ่มเติม
Training plan

5 ขั้นตอนการจัดทำแผนฝึกอบรม (HR Training Plan) แบบ Step-by-Step

Reading Time: 5 min.

5 ขั้นตอนการทำโปรแกรมฝึกอบรม (Training Plan)แบบ step by step สำหรับ HRD มือใหม่หรือมืออาชีพ เมื่อทำออกมาจะกลายเป็น HRD Professional แน่นอน

อ่านเพิ่มเติม
e learning

Flow Space ประสบการณ์เวิร์คชอปออนไลน์แนว e learning ที่เหมือนจริงมากที่สุด!

Reading Time: 1 min.

Flow space รูปแบบการจัดกิจกรรมออนไลน์เสมือนจริง ที่ใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด ทำให้การทำ workshop เป็นเรื่องง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย และสร้างประสบการณ์ที่่น่าประทับใจได้อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม